MCHC (mean
corpuscular hemoglobin concentration)
เป็นค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นของสาร Hb ในเม็ดเลือดแดงมีหน่วยเป็น
g/dl
โดยทั่วไปค่าปกติเท่ากับ 31-35% คำนวณได้จากสูตร
การหาค่า MCV ในเครื่องอัตโนมัตินั้นต่างจากวิธี
manual เพราะเครื่องจะวัด
ขนาดของ MCV โดยตรงจากสัญญาณไฟฟ้า ส่วนค่า
Hct เป็นค่าคำนวณ
ได้จากค่า MCV ค่า Rbc indicies นี้มีประโยชน์ในการช่วยจำแนกประเภทของ
anemia เป็น normochromic normocytic anemia, hypochromic
microcytic anemia, และ macrocytic anemia
4.
Reticulocyte count
Reticulocyte
count เป็นค่าที่ใช้แสดงอัตราการสร้างเม็ดเลือดแดง
โดยคิดเป็นร้อยละของ Rbc ค่าปกติ คือ 0.5-2.5% ในปี
พ.ศ. 2541 นวพรรณ
และคณะได้ทำการศึกษาค่าอ้างอิงมาตรฐานในคนไทยจำนวน 200 คน
โดยใช้เครื่องมืออัตโนมัติ ได้ค่าอ้างอิง Reticulocyte count
มาตรฐานใน
คนไทยเท่ากับ 0.6-2.4% หรือค่านับสัมบูรณ์เท่ากับ 37.15-144.75
X103/mL
โดยทั่วไปค่า Reticulocyte count ที่สูงขึ้นในภาวะโลหิตจางแสดงว่าไขกระดูก
ยังมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดี เช่น ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการแตกทำลาย ของเม็ดเลือด ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการเสียเลือด เป็นต้น
ส่วนค่า
Reticulocyte count ต่ำลง พบได้ในภาวะที่ไขกระดูกมีประสิทธิภาพ
ในการทำงานต่ำลง เช่น ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการขาดเหล็กในการสร้าง
เม็ดเลือดแดง ภาวะโลหิตจาง aplastic anemia เป็นต้น
คำนวณได้จากสูตร
Ret count (%) = (Ret/Rbc+Ret) X 100 |
Reticulocyte count อาจสูงขึ้นเนื่องจากมีจำนวน
Reticulocyte สูงขึ้นจริง
หรือจากการที่มี mature Rbc ลดลง จึงต้องมีการแก้ไขโดยการใช้ค่า
corrected
Reticulocyte count ซึ่งเกิดจากการคูณค่า Reticulocyte count
(%) ด้วย Hct
ของผู้ป่วย/Hct ปกติ โดยสูตรคำนวณ
corrected Ret count = Ret count (%) X (Patient's
Hct/45%) |
อย่างไรก็ตามค่าที่นิยมใช้ กลับเป็นค่า
Reticulocyte Production Index
(RPI) ซึ่งจะบอกการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูกเป็นจำนวนกี่เท่า
ของภาวะปกติ โดยการหารค่า corrected Reticulocyte
count ด้วย
maturation time คือ ระยะเวลาที่ Reticulocyte ใช้ในการเจริญเติบโต
เป็นเซลล์ตัวแก่ ซึ่งปกตินาน 1 วัน สูตรคำนวณ คือ
RPI = corrected Reticulocyte count/maturation
time |
อย่างไรก็ตามเมื่อ Hct ลดลง maturation
time นี้จะนานขึ้น เช่น Hct 15%
จะมี maturation time เท่ากับ 2.5-3 วัน และเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำจึงอนุโลม
ให้ใช้ 2 วัน ในสูตรคำนวณดังนี้
RPI = corrected Reticulocyte count/2 |
หมายเหตุ
maturation time เมื่อ Hct = 45% คือ 1 วัน
maturation time เมื่อ Hct = 35% คือ 1 1/2 วัน
maturation time เมื่อ Hct = 25% คือ 2 วัน
maturation time เมื่อ Hct = 15% คือ 3 วัน
5.
Inculusion body หรือ Heinz body
พบใน Hb H disease และ G-6-PD deficiency นอกจากนี้ยังพบใน
unstable Hb อื่นๆ
6.
Bone marrow study
เพื่อดูว่าการสร้างปกติหรือไม่ โดยดูจากจำนวน cell ตัวอ่อน
ถ้าพบ young forms ของ Rbc ลดลง
แสดงถึงภาวะที่สร้างไม่ได้หรือสร้าง
ได้น้อยลง ถ้าพบ blast
มาก แสดงถึงภาวะการสร้างมากผิดปกติ เช่น acute
leukemia เป็นต้น การศึกษาเหล็กใน
bone marrow เป็นประโยชน์มาก
เพราะทำให้ทราบว่าภาวะโลหิตจางนั้นเกิดจากขาดเหล็กหรือเหล็กเกินใช้ไม่ได้ |