การดูดเสมหะ (suction)
Indications
  • ผู้ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
  • ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว
  • เด็กเล็กซึ่งไม่ร่วมมือ
  • ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง
Methods
  1. เตรียมเครื่องมือ
    • เครื่องดูดเสมหะ
    • resusitating bag (ในผู้ป่วยที่มีท่อช่วยหายใจ)
    • สายดูดเสมหะที่ขนาดเหมาะสม ในรายที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ขนาดสายไม่ควรเกิน 1/2 ของขนาดท่อช่วยหายใจ สายดูดเสมหะควรมีรูที่ตรงปลายและด้านข้าง
  1. ฟังเสียงปอดทั้ง 2 ข้าง ก่อนดูดเสมหะ
  2. ล้างมือให้สะอาด
  3. ใส่ถุงมือข้างที่ถนัด  และจับสายดูดเสมหะด้วยวิธีปราศจากเชื้อ (ดังรูป)
  1. ต่อสายดูดเสมหะกับเครื่องดูดเสมหะ เช็คระดับความดันที่เหมาะสมตามอายุ ดังนี้
    1. ทารก
      ใช้ความดัน
      50 - 70
      มม.ปรอท
      เด็กเล็ก
      "
      70 - 90
      "
      เด็กโต
      "
      90-120
      "
  2. ให้ผู้ป่วย hyperinflate ปอดอย่างน้อย 3 ครั้ง ด้วย 100% ออกซิเจน ทาง mask หรือ ท่อช่วยหายใจ ก่อนทําการดูดเสมหะ และหลังดูดเสมหะทุกครั้ง
  1. การใส่สายดูดเสมหะ

  2. 7.1  ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ (Endotracheal suction)
      • ปลดท่อช่วยหายใจจากออกซิเจน
      • ค่อยๆ ใส่สายดูดเสมหะลงในท่อช่วยหายใจ โดยไม่ดูดเสมหะ
      • เมื่อสายลงจนสุด ให้ดึงกลับประมาณ  0.5 - 1 ซม. และเริ่มดูดเสมหะพร้อมกับดึงสายดูดเสมหะขึ้นเรื่อยๆ
      • ไม่ควรดูดเสมหะแต่ละครั้งนานเกิน 10 - 15 วินาที

      • ต่อท่อช่วยหายใจกับออกซิเจน

Click ที่ภาพเพื่อดูวีดีโอ
    7.2  การดูดเสมหะจากจมูกและปาก (nasopharyngeal sucjtion)
      • ห่อตัวเด็ก หรือให้ผู้ช่วยจับตัวเด็ก
      • หันหน้าไปด้านข้าง และแหงนหน้าขึ้น
      • หล่อลื่นสายด้วยน้ำสะอาด
      • ถ้ามีเสมหะในปาก ให้ดูดเสมหะในปากก่อนใส่สายเข้าทางจมูก เพราะการใส่สายทางจมูกจะทําให้เกิด inspiratory reflex สําลักเสมหะในปากได้
      • ค่อยๆ ใส่สายเข้าทางจมูก โดยไม่ใช้แรงดัน ถ้าติดให้ถอยหลัง และใส่ใหม่
      • เมื่อถึงบริเวณ nasopharynx ให้เริ่มดูดเสมหะพร้อมกับดึงสายออกทางจมูก
      • ให้ออกซิเจนก่อนและหลังดูดเสมหะทุกครั้ง
Click ที่ภาพเพื่อดูวีดีโอ
การดูดเสมหะจากปาก
การดูดเสมหะจากจมูก
Complication
  1. tracheobronchial trauma
  2. hypoxia
  3. cardiovascular change from hypoxia and vagal reflex
  4. atelectasis
  5. changes in intracranial pressure
  6. pneumothorax
  7. bronchospasm
  8. bacterial infection

|| การจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ || การเคาะ || การสั่น || การกําจัดเสมหะ ||