การตรวจการชักนำประสาทรับความรู้สึก.......
 
การตรวจการชักนำประสาท (Nerve conduction study)
            ระบบประสาทส่วนปลาย  ประกอบด้วย
-  sensory axon นำกระแสประสาทจากปลายประสาทรับความรู้สึก รวมทั้ง Ia
   afferent fiber จาก muscle spindle ไปสู่ dorsal horn cell
-  motor  axon นำกระแสประสาทจาก anterior horn cell ไปยังกล้ามเนื้อ
 - sympathetic nerve fiber ซึ่งนำกระแสประสาทอัตโนมัติจาก sympathetic
    ganglion ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
           การกระตุ้นเส้นประสาทและวัด  action potential   ที่ได้ เป็นการตรวจการ ทำงานของ  myelinated nerve fiber ขนาดใหญ่ ซึ่งนำกระแสประสาทได้เร็วที่สุด (ประมาณ 30-80 เมตรต่อวินาที)   การกระตุ้นเส้นประสาท ทำได้โดยใช้กระแสไฟ ขนาด supramaximal โดยให้กระแสไฟวิ่งจาก anode ไปยัง cathodeทำให้เกิด action potential จากการ depolarization ของเส้นประสาทสั่งการและ เส้นประสาทรับความรู้สึก

 
การตรวจการชักนำประสาทรับความรู้สึก (Sensory nerve conduction study)
     การตรวจการชักนำประสาทรับความรู้สึก คือการบันทึก sensory nerve action potential  (SNAP)  จากการกระตุ้นเส้นประสาทรับความรู้สึก  (sensory nerve) ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1.Orthodromic Stimulation คือการกระตุ้นเส้นประสาทจากทางส่วนปลาย เช่น เส้นประสาท digital ซึ่งเป็น  pure sensory nerve แล้วบันทึก  SNAP ที่ตำแหน่ง
ต่าง ๆ ตามทางเดินของเส้นประสาทนั้น ๆ (รูปที่ 1)

รูปที่ 1  แสดงการกระตุ้นเส้นประสาทรับความรู้สึกแบบ orthodromic
2. Antidromic Stimulation     คือการกระตุ้นเส้นประสาทจากส่วนต้นให้ impulse วิ่งไปทางส่วนปลาย สวนทางกับ แนวทางที่ประสาทรับความรู้สึกใช้ในการ
ส่งผ่านกระแสประสาทไปยัง ไขสันหลังตามปกติ  แล้วบันทึก SNAP ที่เส้นประสาท ส่วนปลาย เช่น ที่ digital nerve ข้อเสีย ของการกระตุ้น วิธีนี้คือ รูปร่างของ SNAP ที่ได้อาจถูกบิดเบือนโดย muscle potential  ที่เกิดจาก การกระตุกของกล้ามเนื้อที่
อยู่ใกล้ ๆ (รูปที่ 2)

รูปที่ 2  แสดงการกระตุ้นเส้นประสาทรับความรู้สึกแบบ antidromic

ตารางเปรียบเทียบ SNAP ที่เกิดจากการกระตุ้นโดยวิธี Orthodromic และ Antidromic
 

Orthodromic Response
Antidromic Response
SNAP  amplitude
ขนาดเล็กกว่า
ขนาดใหญ่กว่า
SNAP shape
Unipolar
Bipolar
Conduction time (latency) 
เท่ากัน
เท่ากัน
Nerve conduction velocity
เท่ากัน
เท่ากัน

ค่าที่วัดได้จากการกระตุ้นเส้นประสาทรับความรู้สึก (รูปที่ 3)
        Latency/ Conduction time (msec.)
          หมายถึง...    เวลาที่ใช้ในการชักนำเส้นประสาทให้เกิด action potential มีหน่วยเป็น
มิลลิวินาที (msec.) ซึ่งวัดได้ 2 วิธีคือ วัดตรงจุดที่เริ่มมีการหักเหของกราฟ (initial negative deflection)หรือวัดตรงจุดสูงสุดของกราฟ (peak of negative deflection)

        Amplitude(uv)
          เป็นการวัดความสูงของ action potential  ที่เกิดขึ้น โดยวัดจากจุดสูงสุดของ negative peak ถึงจุดต่ำสุดของ positivepeak ซึ่งแสดงถึงจำนวนใยประสาท (axonal nerve fiber) ที่มีอยู่ในเส้นประสาทนั้น ๆ มีหน่วยเป็นไมโครโวลท์ (uv)

        Nerve conduction velocity (m/sec.)
        คือความเร็วชักนำของเส้นประสาทที่ไวที่สุด (myelinated nerve fiber) วัดได้โดยนำค่า
ของระยะทางระหว่างจุดกระตุ้นถึงจุดรับ (distance) หารด้วยค่าของ latency มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที (m/sec.) NCV = distance / latency


รูปที่ 3  แสดงกราฟของ SNAP และพารามิเตอร์ต่าง ๆ