ไฟฟ้าวินิจฉัยในทางคลินิก..........
 
1. การบาดเจ็บของเส้นประสาท (nerve injury) และ ภาวะเส้นประสาทถูกกดทับ (nerve entrapment) 
         การตรวจการชักนำประสาทและคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ   สามารถยืนยันและ
บอกตำแหน่งที่มีการบาดเจ็บว่าเป็นที่ระดับไหน ได้แก่ รากประสาท (nerve root)  ข่ายประสาท (plexus) หรือเส้นประสาท (nerve) ในการบาดเจ็บระดับราก
ประสาทสามารถบอกได้ว่าเป็น preganglionic lesion หรือ postganglionic lesion สามารถบอกได้ว่าการบาดเจ็บนั้นเป็น  complete injury หรือ      incomplete injury ,  รวมทั้งบอกการ พยากรณ์โรคและใช้ติดตามดูว่ามี reinnervation หรือไม่     สิ่งที่ตรวจพบตามลำดับ หลังจากมีการทำลาย ของเส้นประสาทมีดังนี้ ในระยะแรกถ้ามีการทำลายหมด ตรวจ   EMG   จะไม่พบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเลย แต่ถ้ามีการทำลายเพียงบางส่วนจะพบว่า  motorunit potential   มีจำนวนลดลง ต่อมาประมาณวันที่ 3-5 จะพบว่าการชักนำประสาทส่วนที่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ถูกทำลาย จะเริ่มเปลี่ยนแปลง
ช้าลงหรือวัดไม่ได้เลย ประมาณสัปดาห์ที่ 2   จะเริ่มพบ   Positive sharp wave   จากนั้นราววันที่ 18 - 21 จะพบ fibrillation potentials ซึ่งจะอยู่ได้นานจนกระทั่ง มี reinnervation   หรือกล้ามเนื้อมี   fibrosis   จึงจะค่อย ๆ หายไป เวลาที่เริ่มมี reinnervation จะพบ motor unit potential เป็น polyphasic ขนาดเล็ก ๆ เรียกว่า nascent potentials  ซึ่งจะพบได้ก่อนที่จะตรวจพบจากการตรวจ
ร่างกายว่ากล้ามเนื้อ ส่วนนั้นเริ่มมีแรงมากขึ้น
        สำหรับภาวะเส้นประสาทถูกกดทับ (nerve entrapment) เช่น carpal tunnel syndrome จะพบว่ามี conduction  block บริเวณที่ถูกกด ถ้าถูกกดเป็น
เวลานานจะมีการเปลี่ยนแปลง ทางโครงสร้างของเส้น ประสาท เกิด  demyelination  และ axonal degeneration  ทำให้  amplitude  เตี้ยลง  และมีเวลาชักนำ ประสาทส่วนปลายยาวขึ้น (prolong distal latency) การตรวจ
คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้ออาจพบว่ามี denervation ของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยเส้น
ประสาทนั้น 
2. โรคของเส้นประสาทส่วนปลาย (peripheral nerve diseases) 
        การตรวจทางไฟฟ้าวินิจฉัยสามารถแยกสาเหตุ ของโรคเส้นประสาท
ส่วนปลาย ได้ว่าเกิดจาก axon degeneration   หรือ  demyelination  และ
เกิดเฉพาะที่เส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) เส้นประสาทสั่งการ  (motor nerve) หรือทั้งสองอย่าง (sensori-motor) ถ้าเป็นโรคของ axon
จะพบว่าความเร็ว ชักนำประสาทช้าลงเล็กน้อยแต่   amplitude  จะลดลง
มาก  ถ้าตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อจะพบว่ามีจำนวน motor unit  ลดลง มี  denervation  และอาจมี  reninervation  มักพบได้ทั้ง 2 ข้างที่กล้ามเนื้อ
ส่วนปลาย แต่ถ้าเป็นโรคของ myelin schwan cell จะพบว่าความเร็วชักนำ
ประสาทช้าลงมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ อาจมี conduction  block  เป็น  segment  ถ้าการดำเนินโรครุนแรงมากขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ axon ตามมา (secondary axonal degeneration) ก็จะพบลักษณะของ denervation และ reinnervation เกิดขึ้นโดยมี terminal axon sprouting  ตัวอย่างของโรคเส้นประสาทส่วนปลายที่พบบ่อย เช่น diabetic neuropathy,
alcoholic neuropathy, toxic neuropathy
3. ภาวะรากประสาทถูกกด (nerve root compression) 
    ที่พบมากได้แก่ โรคหมอนกระดูกเคลื่อนทับรากประสาท   (Herniated disc),spondylosis พวกนี้จะพบว่ามีความเร็วชักนำประสาทอยู่ในเกณฑ์
ปกติ แต่มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้า กล้ามเนื้อ โดยจะพบว่ามี insertional  activity  ผิดปกติ  motor unit  ลดลง  พบ positive sharp wave และ fibrillation และอาจมี reinnervated motor  unit  action  potential โดย
ความผิดปกติที่พบจะเป็นไปตาม distribution ของราก ประสาทนั้น ๆ ที่มา
เลี้ยงกล้าม เนื้อแขนขา และกล้ามเนื้อ parapinal
4. โรคของ anterior horn cell 
        จะพบว่าความเร็วชักนำประสาทเป็นปกติ   หรือช้าลงเล็กน้อยไม่ต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์  การตรวจคลื่น ไฟฟ้ากล้ามเนื้อจะพบ fasciculation, fibrillation และ positive sharp wave potentials   ซึ่งจะตรวจพบ ภายใน 18-21 วัน ตามด้วย reinnervation โดยมี sprouting  ของ  terminal axons โดยมีจำนวน motor unit ลดลง แต่มี amplitude เพิ่มขึ้น (large motor unit) และเป็น polyphasic  ตัวอย่างของโรค ในกลุ่มนี้ได้แก่  ALS โปลิโอ และ 
progressive spinal muscular atrophy
5. โรคของ neuromuscular junction 
        การตรวจทางไฟฟ้าวินิจฉัยสามารถแยกโรคของ   neuromuscular junction ได้ว่าความผิดปกติอยู่ที่ presynaptic หรือ postsynaptic โดยการ
ทำ   repetitive   nerve   stimulation    โดยใช้ไฟขนาด supramaximum   ความถี่ 2-3 ครั้ง/วินาที  แล้ววัด amplitude  หรือ area ของ CMAP ตัวที่ 1  และตัวที่ 4 หรือ 5   ถ้า amplitude หรือ area ของ CMAP ตัวที่ 4 หรือ 5 น้อยกว่า ตัวที่ 1 เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็น postsynaptic defect เช่นโรค
myasthenia gravis  ส่วนในกลุ่มที่มีความผิดปกติที่  presynaptic เช่น myasthenic syndrome จะพบว่าถ้ากระตุ้นด้วยไฟความถี่สูง จะพบว่า CMAP มี amplitude เพิ่มขึ้นมาก
6. โรคของกล้ามเนื้อ
  
       ได้แก่ muscular dystrophy, inflammatory myopathy, endocrine และ metabolic myopathy รวมทั้ง congenital myopathy โรคในกลุ่มนี้
จะพบว่าความเร็วชักนำประสาท จะอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ amplitude และ area  ของ CMAP จะลดลง เนื่องจากใยกล้ามเนื้อ ลดลงลักษณะของคลื่น
ไฟฟ้ากล้ามเนื้อจะพบความ ผิดปกติเฉพาะแต่ละโรค ได้แก่ 
6.1  inflammatory myopathy ได้แก่ dermatomyositis และ polymyositis ทำให้ MUAP มีขนาดเล็กลง และเป็นแบบ polyphasic  พบ fibrillation และ positive sharp wave potentials ขณะพัก และมี early motor unit recruitment ขณะออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อเบา ๆ
6.2  muscular dystrophy ในระยะต้น ๆ ของโรค จะพบ fibrillation และ positive sharp  wave potentials, MUAP  มี low amplitude,  short duration  และเป็น polyphasic เมื่อออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อเพียง
เล็กน้อย จะพบ motor unit recruitment เพิ่มขึ้นมาก เมื่ออาการของโรค
เลวลง กล้ามเนื้อมี fibrosis เพิ่มขึ้น ลักษณะคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อจะพบ
electrical silence และจำนวน motor unit ลดลง
6.3  congenital myopathy ตรวจพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้า กล้ามเนื้อเพียงเล็กน้อยอาจไม่พบ fibrillation หรือ positive sharp 
wave potentials แต่อาจพบ polyphasic potentials เพิ่มมากขึ้น