ตัวอย่างแสดงถึงอิทธิพลของฮอร์โมนบางชนิดที่มีต่อกระดูกแข็ง
(some hormone effects on bone )
Osteoporosis
(กระดูกพรุน) คือ โรคที่เกิดมีการศูนย์หายของเนื้อกระดูกแข็ง ผลทำให้กระดูกแข็งเปราะบางและหักได้ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศคือ steroid estrogen (สาเหตุจากการหมดประจำเดือน) ในสภาวะดังกล่าวเกิดจากการเพิ่มจำนวนของ osteoclasts ทำให้เพิ่มจำนวน reabsored old bone เกินกว่าการสร้างกระดูกแข็งใหม่ขึ้นมาแทนที่ ขบวนการนี้สามารถรักษาได้โดยการทดแทนด้วย estrogen, แคลเซียม และวิตามิน D พบว่ากระดูกพรุนและ osteoporotic fracture นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในเพศชายเช่นกัน
Osteomalacia
เป็นโรคกระดูกแข็งที่อ่อนและโค้งงอได้ การที่กระดูกแข็งมีคุณสมบัติอ่อนเนื่องมาจากความผิดปกติในการเกิด mineralization ของ osteoid ซึ่งสาเหตุจากการขาดวิตามินดี หรือ renal tubular dysfunction ในเด็กเมื่อกระดูกอ่อนใน growth plate เกิดขบวนการ mineralization ผิดปกติ ผลคือทำให้เกิด rickets (juvenile osteomalacia) พบว่า Osteomalacia สามารถเกิดจากการขาดวิตามินดี (เช่น intestinal malabsorption) หรือ heritable disorders ของวิตามินดี
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย