ชนิดของกระดูกแข็ง (Types of bone)
ก. แบ่งตามความหนาแน่นของเนื้อกระดูก ออกเป็น 2 ชนิด คือ (รูปที่ 4B)
1. Spongy (cancellous) bone ลักษณะคล้ายฟองน้ำ ประกอบด้วย bony spicules or trabeculae (ชิ้นกระดูกขนาดเล็กๆ) มีช่องเล็กแทรกอยู่ในชิ้นกระดูกแข็งเล็กที่ต่อเนื่องเป็นร่างแห มักพบกระดูกชนิดนี้ให้เป็นที่อยู่ของไขกระดูก
2. Compact bone ลักษณะทึบแน่น
ภาพที่ 4 B

ข. แบ่งตามลักษณะรูปร่างที่เห็น ออกเป็น 4 กลุ่ม
1. Long bones (กระดูกแข็งยาว) เช่น tibia, metacarpals ลักษณะเป็นแท่งยาว แบ่งออกเป็น 5 ส่วน (รูปที่ 4 B) ปลาย 2 ข้างเรียก Epiphysis ปลายถัดเข้ามา 2 ข้าง เรียก Metaphysis (บางตำรารวมเข้ากับ diaphysis) ส่วนกลางเรียก Diaphysis or shaft
2. Short bones (กระดูกแข็งสั้น) มีความกว้างและความยาวเกือบเท่ากัน เช่น carpal bones
3. Flat bones (กระดูกแข็งแผ่น) เช่น กระโหลกศีรษะ (calvarium หรือ skull), sternum ประกอบด้วย compact bone ด้านนอกคลุมแกนกลางซึ่งเป็น spongy bone
4. Irregular bone ชิ้นกระดูกแข็งมีลักษณะซับซ้อน เช่น vertebra, ethmoid bone

ค. ใน Wheater’s functional histology, 2000 แบ่งกระดูกแข็งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. Woven bone กระดูกแข็งที่เจริญไม่เต็มที่ มีการเรียงตัวของเส้นใยคอลาเจนประสานกันไม่เป็นระเบียบ พบกระดูกแข็งชนิดนี้ใน osteoid (กล่าวภายหลัง) ซึ่งสร้างมาจาก osteoblasts
2. Lamellar bone กระดูกแข็งที่มีแผ่นใยคอลาเจนเรียงตัวขนานกันอย่างเป็นระเบียบ

กระดูกแข็งยาว
ภาพที่ 4 B

ประกอบด้วย 2 ลักษณะ (ผ่าซีก) (รูปที่ 4 B) คือ compact (cortical) bone (ด้านนอก) และ cancellous (medullary) bone (ด้านใน) ระยะที่มีการเจริญเติบโต epiphysis แยกออกจาก metaphysis โดย epiphyseal disk or growth plate เมื่อโตเต็มที่ growth plate เห็นเป็น epiphyseal line ใน X-ray หน้าที่ growth plate คือ เพิ่มความยาวให้กระดูกแข็งยาว ภายในกระดูกแข็งยาวมีโพรงขนาดใหญ่เรียก marrow หรือ medullary cavity โดยมี compact bone เป็นผนังถัดเข้ามาเป็น cancellous bone ภายใน marrow บรรจุ active (red) marrow ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือด ในผู้ใหญ่ active marrow มีจำกัดเฉพาะบางบริเวณ ส่วน marrow ของกระดูกแข็งชนิดอื่นๆ บรรจุ inactive marrow ซึ่งมีองค์ประกอบของเนื้อไขมันจำนวนมาก

ผิวที่คลุมบนปลายด้านขยายของกระดูกแข็งยาว เรียก articular (joint) surface (รูปที่ 4A) ซึ่งจะถูกป้องกันโดยมีกระดูกอ่อนชนิดพิเศษคลุมเรียก articular (hyaline) cartilage ผิวด้านนอกส่วนอื่นของกระดูกแข็งคลุมด้วยเส้นใยที่หนา เรียกเยื่อหุ้มกระดูกแข็งด้านนอก (periosteum) ซึ่งให้เป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ผังพืด ด้านในของ เนื้อกระดูกที่ประกอบเป็น cancellous bone ถูกคลุมด้วยเยื่อบางๆ เรียกเยื่อหุ้มกระดูกแข็งด้านใน (endos- teum) ทั้ง endosteum & periosteum ประกอบด้วยพวกเซลล์ของ osteogenic series (กล่าวภายหลัง) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต การสร้างรูปแบบ (remodelling) ให้ต่อเนื่องและซ่อมแซมกระดูกแข็งที่หัก
ภาพที่ 4 A
 
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย