เซลล์ทุกชนิดมีผิวเปลือกหุ้มภายนอก เรียกว่า plasmalemma หรือ plasma (cell)
membrane ในที่นี้ให้ถือ cell membrane เป็นหนึ่งใน membranous organelles
ผิวเปลือกหุ้มของเซลล์ หรือออร์แกนแนลชนิดใดก็ตาม ส่วนใหญ่ไม่สามารถบ่งชี้ได้
ในระดับกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา เพราะบางมาก คือ ผิวเปลือกหุ้มเซลล์ มีความหนาประมาณ
8 -10 นาโนเมตร แต่สิ่งที่เห็นเป็น ขอบเขตของสารที่เกาะผิวนอกของเยื่อหุ้มเซลล์
หรือเกิดจาก refractive index ระหว่างอาณาเขต ที่เยื่อเนื้อผิวกั้นแตกต่างกัน
plasmalemma แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
- external plasmalemma
เป็นผิวเปลือกหุ้มตัวเซลล์
- intraplasmalemma
เป็นผิวเปลือกหุ้มพวกออร์แกนแนล ที่แขวงอยู่ใน cytoplasm
plasmalemma
ทั้ง 2 ชนิด มีความแตกต่างกัน นอกจากตำแหน่งที่พบแล้ว intraplasmalemma นั้น
บางกว่า และมี cholesterol โมเลกุล เป็นองค์ประกอบน้อยกว่า ชนิดแรก แต่พบ
glycocalyx หรือ cell coat เฉพาะที่ผิวของ external plasmalemma เท่านั้น
ในการศึกษา TEM plasma membrane มีลักษณะเป็นแผ่น เรียงซ้อนกัน 3 ชั้น เรียกว่า
trilamina และมีชื่อเฉพาะเรียก UNIT MEMBRANE (รูปภาพที่ 2B) ชั้นทั้ง 3
ได้แก่ outer electron-dense layer, intermediate (electron-lucent
หรือ nonstaining) layer และ inner electron-dense layer
ในระดับโมเลกุลพบว่า โมเลกุลภายใน plasma membrane มีการเรียงตัวเป็นระเบียบ
โดยมีการจำลองรูปแบบมีชื่อเรียกว่า modified fluid-mosaic model นั่นคือ
ประกอบด้วยโมเลกุล 3 ชนิด คือ phospholipids, cholesterols และโปรตีนโมเลกุล
โครงสร้างโมเลกุลไขมัน สร้างมาจาก fatty acid chains ที่พับซ้อนเป็น 2 ชั้น
เรียก phospholipid bilayer เนื้อด้านในเป็นส่วนไม่ชอบน้ำ (membrane hydrophobic)
ผิวเนื้อด้านนอกทั้งสองข้างเป็น polar head groups ของไขมันโมเลกุล (surface
hydrophilic)
|