Membranous Organelles
4. Mitochondria


ภาพที่ 3A

     เป็นโครงสร้างที่ติดสี Iron hematoxylin (รูปภาพที่ 3A) หรือ Janus green B มีลักษณะเป็นแท่ง ขนาดกว้าง 0.5 ไมโครเมตร ยาว 2-10 ไมโครเมตร ในสภาวะที่เซลล์ดำรงชีวิต mitochondria มีการแบ่งตัว และแตกแขนง (self-duplicating organelle) ทำให้มีลักษณะได้หลายรูปแบบ หน้าที่สำคัญของ mitochondria คือ สร้างพลังงานเพื่อนำไปใช้ในขบวนการสร้างสาร และการเคลื่อนของเซลล์ ดังนั้น จำนวนของออร์แกนแนลชนิดนี้ มีตั้งแต่จำนวนเล็กน้อย จนถึงหลายร้อยอัน ขึ้นอยู่กับขนาด และความต้องการพลังงาน ของพวกเซลล์ชนิดนั้นๆ


ภาพที่ 4B

ภาพที่ 1B


ภาพที่ 3B

    ในการศึกษาระดับ TEM  mitochondria (รูปภาพที่ 3B, 1B, 4B) เป็นโครงสร้างที่มีผิวเปลือกหุ้มซ้อนกัน 2 ชั้น (double limiting membrane) ผิวเปลือกด้านใน เพิ่มเนื้อที่โดยพับซ้อนกันคล้ายหิ้ง เรียงขนานกัน เรียกแต่ละหิ้งว่า mitochondrial cristae บางครั้ง cristae มีลักษณะคล้ายท่อ หรือถุงน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด และการทำงานของเซลล์

    หน้าที่ของ mitochondria สร้าง adenosine triphosphate (ATP) จาก adenosine diphosphate (ADP) เนื่องจาก ATP เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ทุกชนิด นอกจากนั้น mitochondria บรรจุน้ำย่อยหลายชนิด ที่เกี่ยวข้องกับ Kreb tricarboxylic acid cycle, the electron transport system และ phosphorylating enzymes ภายใน matrix ของ mitochondria พบ mitochondrial divalent cation-containing granules, DNA (ชนิดวงกลม ไม่มีโปรตีนฮิสโตน ร่วม), RNA, ribosomes รวมทั้งน้ำย่อยชนิดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างโปรตีน และไขมัน สำหรับไว้ใช้ใน mitochondria