คำนำ
(Introduction)


 
  • ปฏิกิริยาตอบสนอง สิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงอยู่ของ เผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต เห็นได้ชัดใน สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น โปรโตซัว ยื่นแขนที่เรียกว่า pseudopod ซึ่งประกอบด้วย ไซโตพลาสซึ่ม (cytoplasm) และ เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ออกไปข้างหน้า หรือหด เข้ามา เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมมากระทบ หรือ ภาวะแวดล้อม เปลี่ยนแปลงไป เพื่อ เข้าหา หรือ หนีออกจาก สภาวะแวดล้อม ในขณะนั้น หรือ เพื่อดำรงชีวิต ด้วยการนำ อาหารเข้ามา ในเซลล์ ปฏิกิริยา ตอบสนอง เหล่านี้ เกิดจาก ขบวนการทางเคมี ที่เป็นลูกโซ่ ตรงบริเวณ เยื่อหุ้มเซลล์ และภายในเซลล์ (ในไซโตพลาสซึม และ ในนิวเคลียส) สำหรับ สิ่งมีชีวิต ที่ประกอบ ด้วยหลายเซลล์นั้น ปฏิกิริยาตอบสนอง ต่อสิ่งแวดล้อม มี ความซับซ้อน มากกว่า เนื่องจาก ไม่ได้เกิดเพียงที่ เซลล์ (คือเยื่อหุ้มเซลล์ และไซโตพลาสซึม) เท่านั้น ยังเกิด การเปลี่ยนแปลง ใน โครงสร้าง ของเนื้อเยื่อ (tissue) ต่างๆ ที่ ร่างกาย สร้างขึ้น เพื่อช่วยใน การดำรงชีวิต เช่น หลอดเลือด (blood vessels) เม็ดเลือด (blood corpuscles) น้ำเลือด (serum หรือ plasma) อาณาบริเวณ นอกเซลล์ (interstitial space) และ กลุ่ม เซลล์พิเศษ ในเนื้อเยื่อต่างๆ ได้แก่ เซลล์กินสิ่งแปลกปลอม (macrophages) เช่น histiocytes, Kupffer cell ในตับ, osteoclasts ในกระดูก, microglial cells ในสมอง เป็นต้น 
  • สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลง ภายในร่างกาย หรือ ภายนอก ร่างกาย มีผลกระทบ ต่อ การดำรงชีวิต ยามปกติ ร่างกายของ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เหล่านี้ ได้สร้างปฏิกิริยา ตอบสนอง ต่อ สภาพแวดล้อม ที่ เปลี่ยนไปนั้น โดยอาศัย ขบวนการเปลี่ยนแปลง ทางโครงสร้าง ทางเคมี และในเซลล์ ของเนื้อเยื่อ ที่ถูกกระทบ อย่าง ต่อเนื่อง ตามลำดับ และอย่างเป็นขั้นตอน เราเรียก ขบวนการนี้ ว่า การอักเสบ 
  • นอกจากนี้ ร่างกายของ สิ่งมีชีวิต หลายเซลล์ เหล่านี้ ยังตอบ สนองสภาวะ ที่เปลี่ยนแปลง ด้วยการ ซ่อมแซม ส่วนที่ สึกหรอ โดยเกิดขึ้น พร้อมกัน หรือร่วมกัน กับการอักเสบ จนถึง การสมานแผล ภายหลังจาก การอักเสบ สิ้นสุดลง ทำให้เกิด แผลหาย(scar) หรือแผลเป็น (keloid