Pneumocystosis

(Pneumocystis pneumonia; pulmonary pneumocystosis; interstitial plasma cell pneumonia, pneumocystis carinii pneumonia)
 

โรคนี้เกิดจากเชื้อปาราสิต  ชื่อว่า Pneumocystis carinii บางคน จัดเข้าใน กลุ่มเชื้อรา แต่ปัจจุบัน ถือว่าเป็น protozoa ในอดีต เชื่อว่า พบบริเวณ ตอนเหนือ และ ตอนกลาง ทวีปยุโรป แต่ปัจจุบัน พบได้ทั่วโลก การติดต่อ เชื่อว่า ผ่านทาง อากาศ โดยหายใจ เอาเชื้อชนิดนี้ เข้าไป ในปอด และมี รายงาน ผ่านทางรก ได้ โรคนี้ มักระบาด ใน หมู่เด็ก ที่คลอดก่อนกำหนด หรือ เด็กที่ขาดการเลี้ยงดู ร่วมกับ ขาดอาหาร และมี ภูมิคุ้มกันต่ำ ตามสถานเลี้ยง เด็กกำพร้า เช่น สถานเลี้ยง เด็กกำพร้า ตึกวชิราลงกรณ์ รพ.จุฬาฯ ครั้งหนึ่ง เชื่อว่า ตึกนี้ เคยเป็น แหล่งของ เชื้อโรคนี้ นอกจากนี้มี รายงาน การติดเชื้อ ร่วมกับ ไวรัสได้ เช่น cytomegalovirus เป็นต้น

 
ในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่มี ภูมิคุ้มกันต่ำ (immunosuppressed) เช่น ผู้ป่วย ที่รับการรักษา ด้วยยา ฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือยาที่ กดภูมิคุ้มกัน หรือในราย  ภูมิคุ้มกัน ปกพร่อง เช่น ผู้ป่วย โรคเอดส์ (AIDS) ในระยะ มีอาการ ผู้ป่วยเหล่านี้ ในระยะ สุดท้ายของโรค มักเกิด อาการ แทรกซ้อน จากการติดเชื้อ ชนิดนี้ ในปัจจุบัน อุบัติการ ของโรคติดเชื้อ ชนิดนี้ใน ผู้ป่วยเอดส์ มีมากขึ้น ผู้ป่วย ส่วนมาก เสียชีวิต จากการติดเชื้อ ชนิดนี้ ในปอด ทำให้เกิด ปอดอักเสบ เรียกว่า pneumocystis carinii pneumonia นอกจาก ปอดแล้ว เชื้อปาราสิต อาจพบตาม อวัยวะอื่นๆ ในร่างกายได้ แต่พบ ค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ ผู้ป่วย โรคเอดส์ ยังอาจ ติดเชื้อ ชนิดอื่น ร่วมอีก ได้แก่ Aspergillus, Cryptococcus, Candidia, Crytosporidosis, Isosporiasis และ Cytomegalovirus. เป็นต้น

วงจรชีวิต ยังไม่ทราบ แน่ชัด มีการสรุป วงจรชีวิต ที่น่าจะเป็นไปได้ ใน ถุงลมปอด คน ไว้ดังนี้ ในระยะ mature cyst ซึ่งภายใน ประกอบด้วย intracystic bodies เมื่อแตก จะปล่อย intracystic bodies เหล่านี้ ออกมา และเจริญเติบโต เป็น small trophozoite และ larger trophozoite ในเวลา ต่อมา สำหรับระยะ larger trophozoite นี้มี การขยายพันธุ์ แบบ budding หรือ conjugation หรือตัวมันเอง อาจสร้าง ผนังหนาขึ้น กลายเป็น precyst และเจริญเติบโต ไปเป็น mature cyst ในที่สุด เข้าใจว่า เชื้อปาราสิต ชนิดนี้ อาศัยอยู่ อย่างอิสสระ ภายใน ถุงลมปอด และตัวมัน ยึดติดกับ ผนังของ ถุงลม

อาการทางคลีนิค ผู้ป่วยมีไข้ ไอ หายใจเร็ว บางครั้ง อาจมี หนาวสั่น และ เจ็บแน่นหน้าอก สำหรับ ผู้ป่วย ที่มี ภูมิคุ้มกัน ปกพร่อง อาการจะเกิด ทันทีทันใด และรุกรามเร็ว สำหรับ ในเด็ก ที่มีโรคขาดอาหาร ร่วมด้วย จะมีอาการ ค่อยเป็น ค่อยไป ผู้ป่วย หายใจ ลำบาก น้ำหนักลด และร่างกาย เจริญเติบโต ช้า ในเลือด พบจำนวน เม็ดโลหิตขาว เพิ่มขึ้น ปริมาณ อ๊อกซิเจน ในเลือด ลดลง ภาพรังสี ปอดพบว่า มีลักษณะเป็น ฝ้าขาว (ground glass infiltration) จนถึง ลักษณะเป็น ก้อน (nodular pattern)

พยาธิสภาพที่เกิดกับปอด พบว่า ปอดทั้งสองข้าง แข็ง หน้าตัดเป็น ตุ่มนูนเล็กๆ (granular surface) ปอด จมน้ำ ทั้งสองข้าง พยาธิสภาพ ทางกล้องจุลทรรศน์ พบสาร สีชมพู เป็นฟอง บรรจุเต็มใน ช่องว่าง ถุงลม (Foamy intra-alveolar exudate) หรือ พบภายใน ผนังถุงลม และผนังของ ถุงลม หนา ประกอบด้วย monocytes, plasma cells และ histiocytes เมื่อนำ เนื้อปอด สดๆ มากดทับ และลากไปบน กระจกสไลด์ และย้อมด้วย giemsa มองดูด้วย กล้องจุลทรรศน์ กำลังสูง จะพบ cyst ของเชื้อนี้  ซึ่งประกอบ ด้วย 1-8 intracystic bodies (หรือ sporozoites) เรียงตัวใน ลักษณะเป็น วง(rosette-like) เชื้อใน ระยะนี้ มีรูปร่าง ต่างๆกัน กลม เรียว หรือ เป็นเสี้ยว มีขนาดประมาณ 1.5 ถึง 2.0 ไมครอน โดยทั่วไป พบ 3 แบบ cyst, sporozoite และ trophozoite หรือจ ากการตัด ชิ้นเนื้อ paraffin ย้อม GMS จะพบ cyst ของเชื้อนี้ติด สีน้ำตาลดำ
 

ในกรณีที่พบในอวัยวะอื่นๆ สารสีชมพูเป็นฟอง (frothy exudate) เหมือนที่พบในปอด พบได้ที่ mucosa และ submucosa ของลำไส้ส่วน duodenum และ esophagus พร้อมเชื้อปาราสิตชนิดนี้ นอกจากนี้ ยังสามารถ พบ cyst ของเชื้อ ปาราสิต ชนิดนี้ใน อวัยวะอื่นๆ เช่น หัวใจ ต่อมน้ำเหลือง ม้าม ตับอ่อน กะเพาะ ลำไส้เล็ก ไต ตับ ไส้ติ่ง ต่อมหมวกไต ไขกระดูก และผิวหนัง

การวินิจฉัยโรค โดยการตรวจหา เชื้อ จากชิ้นเนื้อ ปอด ที่ได้จากการส่อง กล้องผ่านทาง เดินหายใจ เข้าไป พร้อมกับ การตรวจจาก น้ำล้าง ทางเดินหายใจ บรองคัส หรืออาจ แทงเข็ม เข้าทางผิวหนัง บริเวณหน้าอก หรือ ผ่าตัด เปิดหน้าอก เข้าไปตัด เนื้อปอด มาตรวจดู นอกจากนี้ ยังสามารถ ตรวจหา เชื้อจาก น้ำลาย