โดยทั่วไปมีหลักการดังนี้คือ
ต้องพยายามถ่ายพยาธิออกให้หมดทุกตัว
ในกรณีที่มีพยาธิชนิดอื่นรวมอยู่ด้วย
(mixed/multiple infection) ควรถ่ายพยาธิไส้เดือนกลมก่อน แล้วจึงถ่ายพยาธิอื่นๆ
แนะนำให้ใช้ยาถ่ายพยาธิที่ออกฤทธิ์ทั้งพยาธิไส้เดือนกลมและอื่นๆ
ได้ในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันพยาธิไส้เดือนกลมเคลื่อนไหวผิดปกติไปในที่ต่างๆ
อันเป็นผลมาจากการถูกรบกวนโดยที่ยาไม่ได้ออกฤทธิ์ต่อพยาธิไส้เดือนกลม
นอกจากนี้จะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ในการรักษาเด็กที่มีพยาธิไส้เดือนกลมจำนวนมาก
เนื่องจากพยาธิทั้งหมดอาจเคลื่อนไหวผิดปกติจนพันกันเป็นก้อนอุดตันลำไส้เล็ก
(intestinal obstruction) หรืออาจทำให้ลำไส้ทะลุได้
ยาที่ให้ควรแบ่งให้กินหลายๆ วัน โดยจัดขนาดยาให้เหมาะสม
เนื่องจากการใช้ยาถ่ายพยาธิไส้เดือนกลมส่วนมาก
เป็นแต่เพียงทำให้พยาธิไม่เคลื่อนไหวแต่พยาธิไม่ถึงตาย
ดังนั้นในรายที่ผู้ป่วยท้องผูก ควรให้ยาระบายช่วยขับพยาธิออกมาด้วย
นอกจากนี้การรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด
ควรใช้วิธีประคับประคองก่อน เช่น ในรายที่มีลำไส้เล็กอุดตัน
ควรเริ่มการรักษาโดยให้ยากลุ่ม antipasmodics
พร้อมให้น้ำเกลือ (intravenous fluid) และดูดสารทางเดินอาหาร
(Gastric suction) ตามด้วยให้ยาถ่ายพยาธิ piperazine
citrate ทางสายหลอดอาหาร (gastric tube) ซึ่งมักจะได้ผล
แต่ถ้าไม่ได้ผลทันที ก็ต้องรักษาทางศัลยกรรมต่อไป
ที่สำคัญก็คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเกี่ยวกับทางเดินอาหารหรือช่องท้อง
ไม่ว่าสาเหตุใดก็ตาม ถ้ามีพยาธิไส้เดือนกลม จะต้องจัดการถ่ายพยาธิออกไปให้หมดเสียก่อน
เพื่อป้องกันการรบกวนแผลผ่าตัด หรือทำให้บริเวณที่ถูกเย็บ
(surgical sutures) หลุดซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรงได้
ยาที่ใช้ดั้งเดิมนั้น
เป็นพวกสมุนไพร ที่นิยมคือ ผลมะเกลือสด (หัวไม่ดำ) ขนาด
1 ผล ต่ออายุ 1 ปี แต่ไม่เกิน 25 ผล ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขระงับการใช้
เนื่องจากมีพิษทำให้ตาบอดได้
ในปัจจุบันยาที่ใช้มีหลายชนิดด้วยกัน
ได้แก่
Piperazines
citrate ในขนาด 75 มก./กก. (สูงสุดไม่เกิน 3.5 กรัม) ผู้ป่วยที่น้ำหนักน้อยกว่า
20 กก. ให้ 1-1.5 กรัม โดยการกินครั้งเดียว ซึ่งอาจให้ซ้ำ
2 วัน (ผลการรักษา 95%)
อย่างไรก็ตาม การให้ยา |