ภาพและคำอธิบายประกอบ

Figure 146 : ภาพ A ไข่ใน Primary fallicle ระยะ unilaminar primary follicle (ลูกศรชี้) Oocyte ล้อมรอบด้วย simple cuboidal cells ภาพ B ไข่ในระยะ Multilaminar (late) primary (1o) follicle (ย้อมสีพิเศษ) รังไข่มี 1 คู่ เนื้อรังไข่เรียก ovarian stroma (str) ประกอบด้วย spindle-shaped cells, fine collagen fibers และ ground substance เนื้อรังไข่ แบ่งออกเป็น cortex และ medulla บริเวณ cortex บรรจุ follicles จำนวนมากซึ่งภายในบรรจุ female gametes ในระยะต่าง ๆ ของการเจริญ เติบโต เริ่มจาก primordial follicles, growing follicles (แบ่งย่อยเป็น 10, 20, 30 follicle) ซึ่งทั้งหมด oocyte อยู่ในระยะ first meiosis ส่วน mature or graafian follicle อยู่ในระยะ second meiosis

        late primary follicle ประกอบด้วย oocyte ที่มี nucleus (nuc), nucleolus (ncl) ล้อมรอบด้วย follicular cells หรือ epithelium (fep) หรือ stratum granulosa ส่วน zona pellucida (zp) เป็นชั้น glycoprotein และ acid proteoglycans ที่หนาเป็น เนื้อเดียวกันล้อมรอบเป็นเปลือก oocyte, follicle ที่ฝังอยู่ในเนื้อ stroma (str) โดยมีบาง ส่วนของ stroma ที่อยู่ล้อมรอบหรือชิด follicle เรียกว่า theca folliculi ต่อมาจะแบ่ง ย่อยเป็น Theca interna and externa

Figure 147 : ไข่ในระยะ Secondary (2o or antral) follicle เป็นไข่ที่เจริญมาจาก primary follicle (รูปที่ 146) ระยะนี้ไข่จะเคลื่อนลึกลงจากผิวของ ovarian cortex ส่วน zona granulosa ที่ประกอบด้วย Granulosa cells (Gc) มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมาก ผลทำ ให้เกิดช่องขึ้นเรียก follicular antrum (An) ภายในบรรจุ follicular fluid ต่อมา antrum จะเพิ่มช่องมากขึ้นและรวมเป็นช่องขนาดใหญ่อันเดียว ในระยะที่ไข่เจริญ เต็มที่ nu = nucleus of oocyte, TI = Theca Interna, Zp = Zona pellucida สังเกต P = Primordial follicles ซึ่งประกอบด้วย primary oocyte ที่ล้อมรอบด้วย follicular cells ชั้นเดียว ในระยะนี้มักพบอยู่ใกล้กับผิว cortex ส่วนลักษณะของ primary oocyte มีนิวเคลียส์ขนาดใหญ่บรรจุ granular chromatin ขนาดละเอียด กระจายทั่วไป nucleolus เด่นชัด แต่มี cytoplasm น้อย

        Theca folliculi มีการเปลี่ยนแปลงแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ (i) Theca interna (TI) ประกอบด้วย เซลล์รูปทรงกลมหลายชั้น และบ่งชี้ไม่ชัดเจน (ii) Theca externa อยู่นอก ออกมาประกอบด้วย spindle-shape cells ที่ปะปนเข้ากับเนื้อของรังไข่ที่อยู่ล้อมรอบ

Figure 148 : ไข่ ในระยะ graafian follicle (ย้อมด้วย Azan) เป็นระยะที่ oocyte เจริญเต็มที่โดยเซลล์ เพศมีการแบ่งตัวชนิด meiosis เป็นครั้งแรกเรียก oocyte O1 เมื่ออยู่ในระยะ primordial follicle และหยุดแบ่งตัวจนถึงระยะ antral follicle ต่อมาก่อนที่มีการตกไข่ (ovulation) ไข่อยู่ระยะ graafian follicle ในระยะนี้เรียกว่า secondary oocyte O2 เพราะเริ่มแบ่งตัวแบบ meiosis เป็นครั้งที่สอง

        ในระยะนี้ follicular antrum (FA) มีขนาดใหญ่มากและ Zona Granulosa (ZG) มีหลายชั้นหนาล้อมรอบด้านนอกของ follicle ส่วนของ cumulus oophorus (คือ granulosa ที่รอบไข่ในระยะ oocyte O1) เมื่อล้อม oocyte O2 จะเพิ่มหลายชั้น หนาเรียกชื่อใหม่ว่า corona radiata (CR) ซึ่งยังมีบางส่วนเป็นสะพานเชื่อมติดกับ zona granulosa ให้สังเกต TI (Theca interna) ประกอบด้วย steroid-secreting cells ไข่ใน ระยะนี้มีขนาด 1.5-2.5 cm. และนูนออกจากผิวของรังไข่

        ระยะไข่ตก (ovulation) เมื่อ follicle เจริญเต็มที่แตก ovum ที่ประกอบด้วย secondary oocyte, zona pellucida และ corona radiata เข้าไปอยู่ในช่องท้องใกล้ กับปากทางเข้าของปีกมดลูก การแบ่งตัวของเซลล์เพศในระยะ secondary meiosis ของไข่ยังไม่สมบูรณ์ จนกว่าจะมีการผ่านทะลุของตัวอสุจิ (spermatozoon)

Figure 149 : Corpus Luteum เมื่อไข่ตก follicle ที่แตกจะแฟบและมีก้อนเลือดมาบรรจุ ส่วนผนัง follicle กลายเป็นต่อมไร้ท่อชั่วคราว เรียก corpus luteum of menstruation โดยอยู่ ภายใต้อิทธิพลของ luteinising hormone (LH) ที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า พวก เซลล์ที่เคยเรียกว่า zona granulosa มีขนาดใหญ่เรียงตัวหลายชั้นเรียกว่า granulosa lutein cells เริ่มสร้างและหลั่ง progesterone ทำหน้าที่เสริมสร้างให้มีการหลั่งของต่อม มีท่อใน uterine endometrium โดยที่ต่อมดังกล่าวมีการเจริญมาก่อนจากอิทธิพลของ ฮอร์โมน estrogens (หลั่งมาจาก follicle ก่อนที่มีการตกไข่)

        ศรชี้ รอยพับของ theca interna ซึ่งเซลล์ในส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่และกลาย เป็น theca lutein cells ทำหน้าที่สร้างและหลั่ง estrogen แทน granulosa cells เพื่อรักษา ความหนาของเนื้อผิวของโพรงมดลูกต่อไป

Figure 150 : Corpus Luteum กำลังขยายสูงขึ้น ศรชี้ granulosa lutein cell ซึ่งเป็นเซลล์รูปหลาย เหลี่ยมขนาดใหญ่บรรจุ cytoplasm สีชมพูอ่อนจำนวนมาก บริเวณที่ล้อมรอบ granulosa lutein cells ด้านนอกติดสีเข้ม ประกอบด้วยเซลล์รูปกระสวย คือ theca luetin cells (TC)

        granulosa lutein cells สร้างและหลั่ง progesterone ส่วน theca lutein cells สร้างและหลั่ง estrogen

Figure 151 : Corpus albican เป็น inactive fibrous tissue mass เกิดจากผลการเสื่อมสลายของ corpus luteum โดย lutein cells สลายและถูกเก็บกินโดย macrophages ต่อมามีเนื้อ ประสานเข้ามาแทรกและเกิด Intercellular hyaline material (IH) มีลักษณะคล้ายแผล เป็นสีขาว (White scar) ฝังอยู่ในเนื้อรังไข่ และจะค่อยหายไป
Figure 152 : Oviduct (Uterine or fallopian tube, ปีกมดลูก) บริเวณส่วน isthmus ปีกมดลูกยาว ประมาณ 10-20 cm แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ infundibulum, ampulla, isthmus (แคบที่ สุด) และ intramural portion ผนังของปีกมดลูกมี 3 ชั้น คือ mucosa ดาดด้วย simple columnar (non and ciliated) cells โดย non-ciliated cells สร้างเมือกส่วน ciliated cells พัดพาสารไปสู่โพรงมดลูก mf = mucosal fold ผนังชั้นกลางเป็นกล้าม เนื้อเรียบ (m) ผนังชั้นนอกสุด คือ serosa (s)
Figure 153 : Endometrium ของมดลูก (uterus) ระยะ proliferation มดลูก มีขนาดยาวประมาณ 7 cm ลักษณะคล้ายลูกแพร มีผนัง 3 ชั้น คือชั้นในสุด endometrium มีเนื้อผิวดาด (Ep), ชั้นกลาง myometrium (ชั้นกล้ามเนื้อเรียบ) และชั้นนอก perimetrium

        เนื้อผิวที่ดาดโพรงมดลูก (L = lumen) เป็น simple columnar ciliated epithelium มีเนื้อพยุงเป็นพวกเนื้อประสานและ simple tubular glands จำนวนมากภาย ใต้อิทธิพลของ estrogen และ progesterone เนื้อ endometrium มีการเปลี่ยน แปลงเป็นวงจร โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ proliferative phase, secretory phase และ menstrual phase เนื้อ endometrium แบ่งออกเป็น 3 บริเวณ คือ

  • (i) stratum basalis (ชั้น ติดกับชั้นกล้ามเรียบของมดลูก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากและไม่ลอกหลุดใน ระยะที่มีประจำเดือน)
  • (ii) stratum spongiosum (ชั้นกลางมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ),
  • (iii) stratum compactum (ชั้นบนสุดบางเนื้อค่อนข้างแน่น) 2 ชั้นบนสุดเป็นชั้นที่ลอก หลุดเวลามีประจำเดือน และมักเรียกรวมกันว่า stratum functionalis

        ระยะProliferative endometrium พบต่อมมีท่อ (GL) ใน stratum functionalis (st) โดยแตกแขนงเพิ่มจำนวนและขนาดมากขึ้น มีท่อเปิดออก (ศรชี้) สู่โพรงมดลูก การเจริญของเนื้อผิวในชั้นนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของ estrogen

Figure 154 : Endometrium ของมดลูกระยะ secretory phase เป็นระยะหลังจากเกิดการตกไข่แล้ว และอยู่ภายใต้อิทธิพลของ progesterone จาก corpus lutem โดยกระตุ้นให้ต่อม (G) ใน stratum functionalis สร้าง glycogen จำนวนมาก ลักษณะของต่อมกว้างและขดเคี้ยว มาก My = Myometrium ของมดลูก สังเกตมีตะกอนของ glycogen ตกค้างภายใน ท่อของต่อม (G)
Figure 155 : ปากมดลูก (cervix) กำลังขยายต่ำ ตัดตามความยาวของปากมดลูก endocervical canal (ec) เป็นช่องแคบส่วน vaginal canal (ช่องคลอด) กว้างกว่า เพราะส่วนของปากมดลูกยื่น เข้าไปอยู่ในช่องคลอด เรียกปากมดลูกส่วนนี้ว่า portio vaginalis เนื้อผิวที่ดาดเป็น stratified squamous epithelium, moist type (รูปที่ 156) ส่วน cervical mucosa ดาด ด้วย simple columnar epithelium และมี cervical glands มาเปิดออก
Figure 156 : รอยต่อระหว่าง endocervical cervix เปิดออกสู่ช่องคลอด เรียกว่า external os โดย เนื้อผิวที่ดาด endocervical cervix เป็นชนิด simple layer of tall columnar mucous secreting cells (ซ้าย) เปลี่ยนเป็น stratified squamous epithelium, moist type (ขวา) บริเวณนี้อาจ เรียกว่า squamo-columnar junction หรือ transitional zone เป็นบริเวณ ที่มักเกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ กลายเป็นเนื้อร้ายได้ง่ายที่ เรียกว่า cervical cancer
Figure 157 : เนื้อต่อมเต้านม (mammary gland) ในหญิงไม่ท้องเป็น inactive stage ประกอบ ด้วยการแตกแขนงของท่อหลั่งน้ำนมเพิ่มจำนวนมากว่าส่วนของเซลล์ที่สร้างน้ำนม และล้อมรอบด้วยเนื้อประสานที่หนา สังเกต interlobular connective tissue มีจำนวน มาก ล้อมรอบกลุ่มของ secretory และ excretory portion

        เต้านมเป็น modified apocrine sweat gland เนื้อเต้านมอยู่ภายใต้อิทธิพล ของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง และรังไข่ เมื่อหมดประจำเดือนเต้านมจะเสื่อมสลาย มี ขนาดเล็กลง D = Duct, ILS = Interlobular septum, SP = Secretory portion

Figure 158 : เนื้อต่อมเต้านม (mammary gland) ในหญิงท้องเป็น active stage พบกลุ่มเซลล์ สร้างน้ำนมแตกแขนง และขนาดขยายใหญ่กว้างมีลักษณะคล้ายถุง เรียกว่า Alveoli (A) ส่วนของ ท่อที่นำน้ำนมออก (Duct = D) ดาดด้วย cuboidal or low columnar cells ทั้งสองส่วนล้อมรอบด้วย interlobular connective tissue (CT) ที่บางให้สังเกตแต่ละ alveoli ดาดด้วย single layer of cuboidal epithelium และห่อหุ้มด้วย myoepithelial cells

        ในหญิงระยะตั้งครรภ์ เต้านมอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมน estrogen และ progesterone พบว่า secretory alveoli และ alveolar ducts เพิ่มจำนวนมากขึ้น ถ้ามีการหลั่งน้ำนมมักพบสิ่งที่หลั่งขังอยู่ใน alveoli ส่วน intralobular connective tissue และ interlobar adipose tissue มีจำนวนน้อยลงแต่ยังคงเห็นเด่นชัด