ภาพและคำอธิบายประกอบ

Figure 128 : ภาพ diagram ไตที่ผ่าดูลักษณะโครงสร้าง ภายในระดับมหากายวิภาค ไตมี 1 คู่ ขนาดยาวประมาณ 10 ซม. X กว้าง 6.5 ซม. หนา 3 ซม. รูปคล้ายถั่ว ขณะสดเนื้อ ไตสีแดง ไตเป็น retroperitoneal organ มีเปลือกหุ้ม ขั้วไต เรียกว่า hilum ซึ่งอยู่ทาง medial border บริเวณขั้วไตมี renal vessels ท่อน้ำเหลืองเส้นประสาทผ่านและเป็น บริเวณเริ่มต้นของท่อนำปัสสาวะ (ureter) คือส่วน renal pelvis (funnel-shaped structure = กรวยไต) ซึ่งเป็นท่อรวมรับน้ำปัสสาวะมาจาก minor calyx และ major calyx ตามลำดับ
  • เนื้อไตแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ cortex (นอก) และ medulla (ใน) บริเวณ cortex บรรจุ medullary rays ส่วน medulla ประกอบด้วย Pyramid สลับกับ Renal column เมื่อน้ำปัสสาวะออกจากยอด renal pyramid ผ่านเข้ากรวยไตลงสู่ส่วน minor calyx, major calyx , renal pelvis และ ureter ตามลำดับ
  • (จาก Histology : A Text and Atlas, 3rd ed., by Ross et.al., 1995, pp.559)
  • Figure 129 : ภาพ diagram ของไต ภาพซ้ายไตผ่าครึ่งซีก ภาพขวาขยายใหญ่ขึ้นแสดงความ สัมพันธ์ระหว่าง nephron, collecting tubules และ ducts (สีเหลือง) กับตำแหน่ง ที่พบอยู่ในเนื้อ cortex และ medulla สังเกต nephron เป็น basic functional unit ของไตมีหน้า ที่สร้างน้ำปัสสาวะ ท่อที่ต่อจาก nephron คือ collecting tubule ซึ่งมีหน้าที่ทำน้ำ
  • ปัสสาวะให้เข้มข้น nephron หนึ่งอันประกอบด้วย renal corpuscle, proximal convoluted และ straight tubule, thin segment (loop of Henle), distal convoluted และ straight tubule โดยทั่วไปมี nephron 2 ชนิด ชนิดแรกเรียก midcortical (หรือ cortical) nephron เพราะมี loop of Henle ยื่นเข้าไปอยู่ในส่วนของ medulla เล็กน้อย นั่นคือมี thin segment ใน loop of Henel สั้น ส่วน nephron ชนิดที่ 2 เรียก juxtamedullary nephron มี loop of Henle ยาว และยื่นลึกเข้าไปใน medulla ส่วนที่เป็น straight tubules ของ nephrons ส่วนใหญ่ประกอบอยู่ในส่วนของ medullary ray (ดูเปรียบเทียบ กับภาพด้านซ้าย)
  • (จาก Histology : A Text and Atlas, 3rd ed., by Ross et.al., 1995, pp.563)
  • Figure 130 : เนื้อไตในส่วนของ cortex ย้อม H & E แสดงส่วนของ cortical labyrinth (CL) ซึ่ง ประกอบด้วย renal corpuscle (RC), proximal และ distal convoluted tubules ส่วน Medullary Ray (MR) ประกอบด้วย proximal thick segments (descending limbs of Henle's loop), distal thick segments (ascending limbs of Henle's loop) และ Collecting tubules.
    Figure 131 : ภาพ diagram แสดง renal glomerulus ที่มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างอื่นตรงบริเวณ vascular pole (ขั้วทางเข้า-ออกของเส้นเลือด, บน) และ urinary pole (ขั้วทางออกของ น้ำปัสสาวะสู่ท่อไต ล่าง), Mesangial cells (สีน้ำตาล) มีความสัมพันธ์อยู่กับ capillary endothelium และ glomerular basement membrane ส่วน macula densa cells เป็น เซลล์ชนิดพิเศษของ distal convoluted tubule ที่ไปสัมผัสอยู่กับ extraglomerular mesangial cells และ juxtaglomerular cells ซึ่งพวกเซลล์ชนิดหลังเป็น modified smooth muscle cells ของผนัง afferent arteriole และพบตรงบริเวณ vascular pole เท่านั้น
  • บริเวณ vascular pole มี afferent arteriole นำเลือดเข้า glomerulus, ต่อมา แตกแขนงให้เป็น glomerular capillary network ฝังอยู่ใน Bowman's capsule ซึ่งดาด ด้วยเนื้อผิวชนิด simple squamous epithelium 2 ชั้น คือ parietal layer และ visceral layer (เปลี่ยนเรียกชื่อเซลล์ที่ดาดใหม่ว่า podocytes) ลักษณะ podocytes เป็นเซลล์ที่มี การแตกแขนง (primary และ secondary process) โดย secondary processes (pedicel) เกาะที่ glomerular capillary basement membrane ทำให้เกิดมี slit membrane (ช่องระหว่าง pedicels 2 อัน ที่อยู่ใกล้กันของ podocyte บน basement membrane) ส่วน efferent arteriole นำเลือดที่รวมมาจาก glomerular capillary networkออกจาก vascular pole สังเกต : glomerular capillaries เป็นชนิด fenestrated capillaries ที่ไม่มี diaphragms กั้น ส่วน mesangial cells และ extracellular matrix รวมกันเป็นแกน พยุง glomerular capillary network เรียกรวมกันว่า mesangium พบว่า mesangial cells มีลักษณะคล้ายกับ pericytes เพราะมี basal lamina ของ glomerular capillaries ล้อมรอบ หน้าที่ของเซลล์ชนิดนี้ ยังไม่ทราบชัดเข้าใจว่ามีหน้าที่เกี่ยวกับ phagocytosis และสร้าง matrix เพื่อพยุง podocytes.
  • (จาก Histology : A Text and Atlas, 3rd ed., by Ross et.al., 1995, pp.564)
  • Figure 132 : ภาพบริเวณ renal cortex แสดง renal corpuscle และองค์ประกอบอื่น ๆ B = Bowman's space เป็นช่องรับน้ำปัสสาวะอยู่ระหว่าง parietal layer (p) และ visceral (podocyte) layer, M= Macula densa เป็นบริเวณที่ modified columnar cells ของ distal tubule สัมผัสกับผนัง afferent arteriole ตรง vascular pole. หน้าที่ของ macula densa เกี่ยวกับ chemo-receptor., P = Proximal convoluted tubule ซึ่งเนื้อผิวที่ดาดเป็น simple cuboidal epithelium ที่มี brush border. (เห็นหลุดอยู่ใน lumen)
    Figure 133 : ภาพ renal corpuscle (ย้อมสีพิเศษ) บริเวณ urinary pole แสดง proximal convoluted tubule (ลูกศรชี้) รับน้ำปัสสาวะจาก Bowman's pace (Bp) ให้สังเกต : distal convoluted tubules นั้นเนื้อผิวที่ดาดเป็นชนิด simple cuboidal epithelium โดยเซลล์เนื้อ ผิวติดสีอ่อนว่าเซลล์เนื้อผิวที่ดาด proximal convoluted tubules ส่วน glomerular capillaries ภายใน lumen บรรจุเซลล์เม็ดเลือดแดงติดสีเหลืองอ่อน
    Figure 134 : ภาพลักษณะของ proximal tubule (pr), ศรชี้บริเวณ brush borber ที่หลุดอยู่ใน lumen ส่วน lumen ของ distal convoluted tubule (d) ใสและกว้างกว่า
    Figure 135 : ภาพขยายใหญ่บริเวณ renal tubules (ย้อมสีพิเศษ) แสดงส่วน proximal convoluted tubule (pr), เปรียบเทียบกับ col = collecting tubule เซลล์เนื้อผิวที่ดาดท่อชนิดหลัง ใสและขอบเขตของแต่ละเซลล์เห็นชัด ไม่มี brush border พบ brush border (br) ชัดเจนในส่วน proximal tubule, bm = basement membrane (ติดสีฟ้า)
    Figure 136 : ภาพ distal convoluted tubule (ศรชี้,d) เซลล์เนื้อผิวไม่มี brush border และ lumen กว้าง (ควรศึกษาเปรียบเทียบกับ proximal convoluted tubule, pr)
    Figure 137 : ภาพ renal medulla แสดง D = Distal tubule และ T = Thin segment of loop of Henle โดยท่อชนิดหลังมีเนื้อผิวที่ดาดเป็นชนิด simple squamous epithelium, ในการ ทำงานของไต Thin segment ของ juxtamedullary nephron เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมทำงาน อยู่ใน countercurrent exchange system ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำน้ำปัสสาวะให้ เข้มข้น (urine concentration)
    Figure 138 : ภาพขยายแสดงลักษณะของ simple squamous cells (ศรชี้) ดาด lumen ของ Thin segment of loop of Henle สังเกต : Vasa recta คือ capillaries (cap) ที่วิ่งคู่กับ Thin segment (Th) ของ loop of Henle และดาดด้วย endothelial cells เช่นเดียวกันแต่ภายใน lumen มักพบมีเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญแยกได้จากลักษณะโครง สร้างของ Thin segment of loop of Henle.
    Figure 139 : ภาพ renal tubules (ย้อมสีพิเศษ) แสดงลักษณะโครงสร้างของ Collecting tubule (C), Distal tubule (D) และ Thin segment of loop of Henle (T) ให้สังเกตข้อแตกต่าง ระหว่างเนื้อผิวที่ดาดท่อแต่ละชนิด
    Figure 140 : ภาพระดับกล้องจุลทรรศ์อิเลคตรอนแสดงองค์ประกอบของ glomerular filtration barrier ได้แก่
  • (1) Filtration slits เป็นช่องกว้าง 25 nm อยู่ระหว่าง secondary foot processes (pedicels) ที่เกาะบน glomerular basement membrane ช่องนี้มีเยื่อบาง ๆ กั้นเรียก filtration slit membrane และ ยอมให้น้ำ filtrate ผ่านเข้าไปอยู่ใน Bowman's space ได้ พบว่าภายใน foot processes บรรจุ microfilaments (actin) ซึ่งเข้าใจว่าทำหน้าที่ช่วยควบคุมขนาดช่องทางผ่านออก นอกเหนือจากเยื่อบาง ๆ ที่กั้น
  • (2) Glomerular basal (basement) lamina (GBM) หนา 300-350 nm สร้างมาจาก endothelium และ podocytes เป็นโครงสร้างกีดกว้างที่สำคัญที่สุด เพราะมีองค์ประกอบของ type IV collagen, sialoglycoproteins และ non-collagenous glycoproteins, GBM กำจัดการเคลื่อนออกของโปรตีนที่มีขนาดใหญ่กว่า 70,000 daltons เช่นพวก albumin หรือ hemoglobin
  • (3) Fenestrae (Pores) ของ capillary endothelium กีดขว้างการผ่านออกของเซลล์เม็ดเลือดและ formed elements ของน้ำเลือด
  • นอกจากโครงสร้างดังกล่าวแล้ว อัตราการไหลและความดันภายใน glomerular capillaries ยังมีอิทธิพลต่อหน้าที่การกรองของ renal corpuscle ด้วย
  • Figure 141 : ภาพแสดงลักษณะของผนังกระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) รับซึ่งน้ำปัสสาวะมา จาก 2 ureters โดยเก็บปัสสาวะไว้และส่งออกทาง urethra ผนังของกระเพาะปัสสาวะ แบ่งออกเป็น 4 ชั้น คือชั้น
  • (1) mucosa (muc) ดาดด้วย transitional epithelium (ขยายใหญ่ใน ภาพที่ 142) และรองรับด้วย lamina propria ชั้น
  • ( 2) submucosa บรรจุพวกเนื้อ ประสานเส้นเลือดน้ำเหลืองและเส้นประสาทชั้น
  • (3) muscularis (mus)บรรจุกล้ามเนื้อเรียบ เรียงตัวเป็น 3 แบบ (ด้านในเรียงตามยาวตรงกลางเรียงเป็นวง และด้านนอกเรียงตาม ยาว ซึ่งตามความเป็นจริงไม่สามารถแยกออกเป็นชั้น ๆ ได้ชัดเจน) มัดกล้ามเนื้อเรียบ ดังกล่าว มีเนื้อประสานมาล้อมรอบ ทำให้เห็นกล้ามเนื้อเป็นมัดแยกห่างออกจากกัน
  • (4) ชั้นนอกสุดเป็น serosa (ไม่เห็นในภาพ) ชั้นนี้บริเวณตัวกระเพาะปัสสาวะถูกปก คลุมด้านนอกด้วยชั้น mesothelium (simple squamous epithelium)
  • Figure 142 : ภาพขยายแสดงลักษณะของ transitional epithelium (ศรชี้) ในระยะหดตัวของกระเพาะ ปัสสาวะเซลล์เนื้อผิวชั้นบนสุดมีลักษณะโป่ง (dome-shaped cells) ชั้นถัดลงมาเซลล์ เป็นรูป pear-shaped cells ส่วนเซลล์ชั้นลึกลงมามีขนาดเล็กลง ความหนาของเนื้อผิว ขึ้นอยู่กับปริมาณการบรรจุของน้ำปัสสาวะ ถ้าไม่มีน้ำปัสสาวะเลย เซลล์เนื้อผิวที่ดาด มีความหนาประมาณ 5 ชั้น เมื่อบรรจุน้ำปัสสาวะเต็มที่มีความหนาประมาณ เซลล์ เรียงกัน 3 ชั้นเท่านั้น คือ ชั้น basal layer, intermediate cell layer และ surface cell layer
    Figure 143 : ภาพแสดงลักษณะโครงสร้างของท่อรับน้ำปัสสาวะ (ureter) ซึ่งมี 1 คู่ ลักษณะเป็น ท่อกล้ามเนื้อรับน้ำปัสสาวะมาจากไต ตรงบริเวณ renal pelvis ผนังของ ureter มี 3 ชั้น คือ
  • (1) mucosa ดาดด้วย transitional epithelium (Epi, ขยายในกรอบล่างขวา) และชั้น subepithelial connective tissue
  • (2) muscularis (m), การเรียงตัวของกล้ามเนื้อเรียบคือ ด้านใน-นอกเป็น longitudinal, กลางเป็น circular แต่ชั้นด้านนอก longitudinal พบแต่ในส่วนปลายล่าง ของ ureter เท่านั้น
  • (3) serosa (s) หรือ adventitia ขึ้นอยู่ตำแหน่งของ ureter ว่ามี mesothelium คลุมหรือไม่
  • สังเกต เนื่องจากการหดตัวของผนังกล้ามเนื้อเรียบทำให้ผิวของ Lumen (Lum) มีลักษณะหยัก (fold) คล้ายกับรูปดาวหรือแฉก
  • Figure 144 : Female urethra (u) สั้นกว่าเพศชาย โดยยาวประมาณ 3-5 cm. ท่อนำปัสสาวะชนิด นี้ออกจากกระเพาะปัสสาวะและเปิดออกสู่ vestibule ของ vagina โดยมีปลายสิ้นสุด เหนือต่อ clitoris ผนังของ urethra ประกอบด้วยชั้น mucosa เริ่มแรกดาดด้วย transitional epithelium ต่อมาเปลี่ยนไปเป็น stratified squamous epithelium (Ep) ส่วน ชั้น submucosal บรรจุเนื้อประสานชนิดหลวมที่มีเส้นเลือด (BV) จำนวนมากและถัด มาคือ ชั้นกล้ามเนื้อเรียบ (m)
    Figure 145 : Cross-section ของ penis ประกอบด้วยแท่งเนื้อ 3 อัน โดยส่วน penile urethra (u) ฝัง อยู่ใน corpus spongiosum (Cs) , ส่วน corpus covernosum (Cc) มีจำนวน 2 อัน แท่ง เนื้อทั้ง 3 อัน (2 อันอยู่ทาง dorsal, 1 อันอยู่ทาง ventral) เป็น erectile tissue มี dense fibroelastic layer ที่เรียกว่า Tunica albugenia ล้อมรอบแต่ละอัน แต่ทั้ง 3 แท่งรวมห่อ หุ้มด้วย Deep fascia (Df) แท่ง corpus carvernosa ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเส้นเลือดซึ่ง ดาดด้วย vascular endothelium เมื่อมีเลือดมาจาก helicine arteries และบรรจุเต็มทำให้ แท่งทำให้ penisนี้มีขนาดใหญ่ และแข็ง ต่อมาเลือดไหลกลับทาง peripheral vein
  • male urethra ยาวประมาณ 20 cm. แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
    • 1. Prostatic urethra (3-4 cm) ส่วนที่ออกจากกระเพาะปัสสาวะ ผ่านเข้าไป อยู่ในเนื้อต่อมลูกหมาก (prostate gland) มีชั้น mucosa ดาดด้วย urinary epithelium
    • 2. Membranous urethra (1 cm) ส่วนนี้ออกจากเนื้อต่อมลูกหมาก ผ่านเข้า ไปใน urogenital และ pelvic diaphragm ท่อส่วนนี้ดาดด้วย stratified หรือ pseudostratified columnar epithelium
    • 3. Penile urethra (U) ยาวประมาณ 15 cm ล้อมรอบด้วย corpus spongiosum ปลายสุดขยายกว้างเรียก fossa navicularis และเปิดออกที่ glan penis เนื้อผิวที่ดาด urethra ส่วนนี้เป็น psedostratified columnar epithelium ยกเว้นปลาย สุดดาดด้วย stratified squamous epithelium เพราะต่อเนื่องกับผิวหนังที่หุ้ม penisพบ Ducts of the bulbourethral glands และ mucous-secreting glands of Littre มีท่อเท ลงสู่ penile urethra