 | Figure 168 : Meissner's corpuscle (M) เป็นฐานรับความรู้สึกที่มีเปลือกหุ้มขนาดเล็ก พบ บริเวณ dermal papilla (DP) ของหนังแท้ โดยเฉพาะมีมากบริเวณปลายนิ้ว นิ้วเท้า nipples เปลือกตา ริมฝีปากและอวัยวะเพศ ฐานรับความรู้สึกนี้มีหน้าที่รับการ สัมผัสชนิดแผวเบา (light discriminatory touch) Meissner's corpuscle (M) ลักษณะเป็นรูปไข่อยู่ใต้ต่อ Epidermis (หนังกำพร้า, E) ฐานความรู้สึกนี้ประกอบด้วย เปลือกที่เป็นเนื้อประสานบาง ๆ หุ้ม กลุ่มของเซลล์รูปไข่ ที่เรียงตัวขวางซึ่งเข้าใจเป็น specialized schwann cells ภายใน มี non-myelinated branches of large myelinated sensory fibers แตกแขนงให้ ลักษณะ helical manner, K = keratin ของชั้นหนังกำพร้า |
---|
 | Figure 169 : Pacinian corpuscle เป็นฐานรับความรู้สึกที่มีเปลือกหุ้มขนาดใหญ่ ทำหน้าที่รับแรงกด หรือ การสัมผัสอย่างหยาบ การสั่นสะเทือนและแรงดึง (tension) พบอวัยวะนี้บริเวณชั้น ลึกของผิวหนัง, ผังผืด และเปลือกที่หุ้มข้อต่อต่าง ๆ หรือพบบ้างบริเวณ serous membrane, mesenteries และอวัยวะภายในบางชนิด Pacinian corpuscle มีขนาด ยาว 1-4 mm เมื่อผ่าออกมีลักษณะเรียงเป็นชั้น คล้ายหัวหอมผ่าซีก เพราะประกอบด้วยเปลือกหุ้มที่บางและมีเซลล์แบน ๆ เรียงตัวเป็น concentric lamellae แกนกลางบรรจุ unbranched non-myelinated nerve fiber ขนาดใหญ่หนึ่งอัน นั่นคือ เมื่อปลายข้างหนึ่งของ myelinated nerve fiber (MNF) เข้าสู่เปลือกหุ้ม จากนั้น myelin ที่คลุม 1 หรือ 2 nodes จะหายไปคงเหลือแต่ non-MNF ที่ยื่นตรงไปยังขั้ว ตรงกันข้ามกับทางเข้าของ MNF บริเวณแกนกลางชิดกับ non-MNF ถูกหุ้มด้วย schwann cells แบบเรียงเป็นชั้น เรียก Inner core (IC) ส่วนเปลือกหุ้มชั้นนอก เรียก Outer core (OC) ซึ่งมีลักษณะเป็น concentric lamellae โดยแต่ละ lamella มีช่องว่างแคบ บรรจุ lymph like fluid |
---|
 | Figure 170 : Terminal parts of the axon of a motor neurone ซึ่งแตกแขนงให้เป็นหลายแขนง บริเวณปลายของแต่ละแขนงคือ motor end plate ซึ่งเป็น encapsulated nerve ending ชนิด Neuromuscular Spindle proprioreceptor (Np) หรือ moter end plateพบอยู่ใกล้ จุดกึ่งกลางของเซลล์กล้ามเนื้อลาย สังเกต axonal branch มี myelin sheath หุ้ม (MN = myelinated nerve fiber ตรงปลายสุดก่อน แตกแขนงออก ให้เป็นโครงสร้างรูปทรงกลม (terminal bouton) บนผิว ของกล้ามเนื้อลาย โดยเมื่อแตกแขนงเส้นประสาท เป็นชนิด nonmyelinated axon |
---|
 | Figure 171 : Olfactory receptors คือฐานรับกลิ่นที่มีลักษณะเป็นเนื้อผิวเรียกว่า olfactory epithelium (OF) พบ ขนาดเล็กตรง บริเวณหลังคาของโพรงจมูก ประกอบด้วยเซลล์อย่างน้อยสามชนิด คือ olfactory receptor cells, supporting epithelial (sustentacular) cells และ basal cells เนื้อผิวมีลักษณะเป็นชนิด Pseudostratified columnar cells with cilia Olfactory receptor cells เป็น bipolar neurones โดยตัวเซลล์อยู่บริเวณชั้น กลางของเนื้อผิว ปลายผิวบนโปงออกเป็กระเปาะเล็ก ๆ และให้เป็น modified cilia ที่ยาวประมาณ 12 เส้น ในระดับอิเลคตรอนไมโครกราฟ แกนกลางของ cilia ประกอบด้วย 9+2 arrangements of microtubules และเป็นชนิดไม่เคลื่อนที่โดย cilia วางราบลงบนผิวของเนื้อผิว เข้าใจว่า cilia เป็นแหล่งที่มีปฏิกริยาระหว่าง odiferous substances และ receptor cells บริเวณฐานของเซลล์พบให้เป็น non myelinated axon แทงทะลุ basement membrane เมื่อรวมกับ axons ของ receptor cells ตัวอื่น ให้เป็นกลุ่มของ axons ผ่านเข้า cribriform plate ของกระดูก ethmoid ตรงไปยัง olfactory bulbs เข้าสู่สมองส่วนหน้าเพื่อ synapse ให้เป็น secondary order sensory neurons Sustentacular cells ทรงยาวแต่บริเวณฐานสอบเข้า วางบน basement membrane มี microvilli ที่บริเวณ luminal surface พันประสานอยู่กับ cilia หน้าที่ ของเซลล์ชนิดนี้เข้าใจว่าเป็น mechanical และ physiological support สำหรับ receptor cells Basal cells เป็นเซลล์ขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยม, พบบริเวณฐานของ เนื้อผิว เข้าใจว่าอาจเป็น receptor cells ที่ยังไม่เจริญเต็มที่ ในเนื้อเยื่อที่เห็นอาจแยกเซลล์แต่ละชนิด ค่อนข้างยากให้สังเกตแถวหรือ แนว nuclei ของ sustentacular cells, receptor cells และ basal cells มักพบบนสุด กลางและล่างติดกับ basement ตามลำดับ Olfactory epithelium รองรับด้วย loose vascular tissue ที่บรรจุกลุ่มของ เส้นเลือด, afferent nerve fibers และ ต่อมมีท่อจำนวนมากคือ Bowman's glands (BG) ซึ่งสร้างและหลั่งน้ำใส (serous) เคลือบบนผิวของเนื้อเยื่อเพื่อให้ odiferous substance ละลาย |
---|
 | Figure 172 : Eye (ตา) ภาพ A กำลังขยายต่ำ, ภาพ B กำลังขยายสูงขึ้น แสดง Ciliary body (CB), Iris (Ir). Ciliary body ซึ่งเป็น circumferential structure ที่นูนอยู่ในลูกตาพบอยู่ระหว่าง ora serrata และ limbus โดยโครงสร้างนี้ ต่อเนื่องมาจาก choroid layer (uveal tract) ส่วนของ ciliary body ตรงมุมของ posterior chamber (PC) มีลักษณะยื่น เป็นแขนงของเนื้อผิวเรียกว่า ciliary processes (CP) มีแกนกลางเป็นเนื้อ ประสานบรรจุ fenestrated capillaries จำนวนมาก ciliary body แกนกลางเป็นกล้ามเนื้อ และคลุมด้วยเนื้อ ผิวทรงลูกเต๋าสองชั้น ชั้นถัดไปพบ pigmented cells จำนวนมากและต่อเนื่องกับ pigmented epithelial layer ของ retina Iris เป็นส่วนหน้าสุดของ uveal layer ยื่นออกมาจาก Ciliary body ให้เป็น diaphragm อยู่หน้าต่อ lens และยังเป็นตัวแบ่งช่องด้านหน้าของลูกตาออกเป็น posterior (PC) และ anterior chamber (AC) โดยมีช่องติดต่อผ่านทาง pupil เนื้อ ของ iris ประกอบด้วย loose, highly vascular tissue ซึ่งบรรจุ melanocytes กระจาย อยู่เป็นจำนวนมาก เนื้อผิวด้านหน้าดาดด้วย discontinuous layer ของ fibroblasts และ melanocyte ส่วนเนื้อผิวด้านหลังค่อนข้างเรียบ และดาดด้วยเนื้อผิว 2 ชั้นที่ต่อ เนื่องมาจากผิวของ ciliary body เรียกว่า Pigmented epithelium (PEp) สีของ iris ขึ้นอยู่กับจำนวนเม็ดสีในเนื้อโครงสร้าง และเม็ดสีใน posterior epithelial layer ซึ่ง ค่อนข้างจะคงที่ พวกตาสีฟ้าบรรจุ stromal pigment จำนวนน้อย ตรงกันข้ามกับตา สีน้ำตาลเข้ม |
---|
 | Figure 173 : Eye (ตา) แสดง Optic nerve (ON), R = Retina, BV = blood vessels, บริเวณที่ Optic nerves ออกจาก ลูกตา เรียกว่า optic disc or papilla (OD) ไม่พบ Receptor cells ตรง Optic disc จึงเป็นจุดบอด (blind spot) ของตา nerve fibers ที่ให้เป็นเป็น optic nerve กำเนิดจาก retina โดยเฉพาะจาก ganglion cells layer โดยผ่านทะลุ sclera เป็นช่องเล็ก ๆ เรียก lamina cribosa และรวมกันให้เป็น optic nerve ภายใน optic nerve บรรจุ central artery และ vein (ไม่เห็นในภาพนี้) โดยผ่านทะลุ lamina cribosa เช่นกัน และให้แขนงไปเลี้ยง retina ด้านใน |
---|
 | Figure 174 : Pars optica retinae แบ่งออกเป็น 10 ชั้น ดังนี้ 1 ILM = Inner Limiting Membrane 2 NFL = Optic Nerve Fiber Layer 3 GC = Ganglion Cell Layer 4 IPL = Inner Plexiform Layer 5 INL = Inner Nuclear Layer 6 OPL = Outer Plexiform Layer 7 ONL = Outer Nuclear Layer 8 ELM = External Limiting Membrane 9 R&C = Layer of Rods and Cones 10 PEp = Pigmented Epithelium ส่วนชั้นในสุด คือ Choroid (Ch) ติดกับชั้นสุดท้ายของ retina |
---|
 | Figure 175 : Cornea (แก้วตา) เป็นส่วนของตาที่ใส อยู่หน้าต่อ iris มี 5 ชั้นได้แก่ 1. ชั้นเนื้อผิว เป็นชนิด stratified squamous (Str) ซึ่งประกอบด้วยเซลล์หนา ประมาณ 5-6 ชั้น 2. Bowmans's membrane เป็นชั้นใสอยู่ใต้ต่อชั้นเนื้อผิว 3. Substantia propria (corneal stroma) เป็นชั้นที่หนาที่สุดไม่มี เส้นเลือด ประกอบด้วย dense regularly arranged connective tissue (DR) มี collagen fibrils (C) และ Nuclei of fibroblasts (N) เรียงกันเป็นแผ่นอย่างมีระเบียบ 4. Descemet's membrane เป็นชั้นบาง ๆ ใสแยกชั้น substantia propria ออกจากชั้น corneal endothelium 5. Corneal endothelium ดาดด้วย endothelial (simple squamous cells = sm) มี basement (Descemet's ) membrane รองรับ |
---|
 | Figure 176 : Ear (หู) ภาพ A แสดง Macula พบอยู่ใน utricle และ saccule และ ภาพ B แสดง Crista ampullaris ซึ่งบรรจุอยู่ใน semicircular duct หูส่วนในประกอบด้วย bony labyrinth และ membranous labyrinth ในบางบริเวณ มี membranous labyrinth สวมอยู่ภายใน bony labyrinth แต่บางแห่งอยู่แยกกัน ภายใน membranous labyrinth บรรจุของเหลวใสเรียก endolymph ช่องด้านนอกระหว่าง membranous และ bony labyrinths บรรจุของเหลวเรียก perilymph bony labyrinth แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ cochlea, semicircular canals และ vestibule โดย cochlea และ semicircular canals มีส่วน membranous counterparts ที่มีลักษณะเหมือนรูปกระดูกเดิม ยกเว้น vestibule ซึ่งมี membranous sac 2 ถุงอยู่ภายใน และ ส่วนที่เป็นท่อต่าง ๆ ส่วนเป็นถุง คือ utricle และ saccule พบว่า cochlea บรรจุ receptors for hearing คือ organs of corti (Figure 177), semicircular canals บรรจุ receptors for movement และ saccule และ utricle บรรจุ receptors for position (ตำแหน่ง) เรียก Maculae (ภาพ A) Neuroepithelium (N) ที่ดาดบนผิวของ crista ampullaris และ maculaeประกอบด้วย เซลล์สองชนิดคือ sustentacular (supporting) cells และ hair (receptor) cells (ไม่สามารถแยกได้ในระดับกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา) จากการใช้หลักที่ทราบว่า นิวเคียส์ของ hair cells มักอยู่ส่วนผิวกว่า sustentacular cell มี gelatinous mass เรียกว่า cupula (ในภาพ) พบเล็กน้อย อยู่เหนือต่อ neuroepithelium ใน crista ampullaris แต่ละ receptor cell ยื่น hair like projection เข้าไปใน cupula, แต่ใน macula utriculi (ภาพ A) บนผิวของ neuroepithelium มี gelatinous substance และ หินปูนเกล็ดเล็ก ๆ เรียก Otolith หรือ Otonia ฉาบมีลักษณะเป็นแผ่น เรียกว่า otolithic membrane (Om), CT = connective tissue |
---|
 | Figure 177 : Ear แสดง Organ of Corti เป็น neuroepithelium บรรจุอยู่ใน Scala media (Sm) ซึ่งเป็นช่องหรือโพรงภายใน cochlear duct (membranous sac) และบรรจุ endolymph, cochlea ถูกแบ่งออกเป็น 3 ช่อง โดย membrane 2 แผ่น คือ Basilar membrane (Bm) กับ Vestibular membrane ช่วงที่อยู่เหนือ vestibular membrane เรียก Scala vestibuli (Sv) ช่วงที่อยู่ใต้ Basilar membrane เรียก Scala tympani (St) Neuroepithelium ของ Organ of Corti ประกอบด้วยเซลล์สองชนิดคือ Hair cells และ supporting cells ซึ่งเซลล์ชนิดหลังมีชื่อเรียกต่างกันขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งและลักษณะของเซลล์ที่พบ Bm = Basilar membrane N = Neuroepithelium Rm = Reissner's membrane St = Scala tympani Stv = Stria vascularis Sv = Scala vestibuli Tm = Tectorial membrane |
---|