 | Figure 1 : ผิวหนังหนา (Thick skin) พบที่ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ชั้นหนังกำพร้า (E=Epidermis) ประกอบด้วย stratified sqamous keratinising epithelium มีชั้น ขี้ไคล (keratin) หนามาก โครงสร้างที่พยุงหนังกำพร้าคือ หนังแท้ (Dermis) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ Papillary Dermis (PD) และ Reticular Dermis (RD) ชั้นหนังแท้ประกอบด้วย dense irregularly arranged fibro-elastic tissue บรรจุ ต่อมเหงื่อ ต่อมขน ต่อมไขมัน เส้นเลือดท่อน้ำเหลือง และเส้นประสาทชั้นใต้หนังแท้ คือ Hypodermis (HD) มีองค์ประกอบ เป็น loose areolar connective tissue ที่มีเนื้อไขมันมาก ทำให้ชั้นนี้นุ่มและเป็นชั้นฉนวนซึมซับ (shock-absorbing layer)สังเกต ชั้นหนังแท้ติดสีอ่อนกว่าชั้นหนังกำพร้า บริเวณหนังกำพร้าที่มีเส้นสีเข้มเป็นขอบคือชั้น Stratum granulosum |
---|
 | Figure 2 : ผิวหนังชนิดหนากำลังขยายสูงขึ้น แสดงลักษณะเนื้อผิวของชั้นหนังกำพร้า ซึ่งเป็นชนิด stratified squamous epithelium ที่มี keratin (k) ขี้ไคลหนา ส่วนหนังแท้ (D) เป็น dense irregular arranged collagenous tissue ส่วนใหญ่ ติดสีอ่อน ให้สังเกต granular cells (gc) ซึ่งภายใน cytoplasm บรรจุ granules ติดสีเข้ม |
---|
 | Figure 3 : ผิวหนังชนิดบาง มี keratin (k) บางมาก ไม่มีชั้น stratum lucidum พบ granular cells (gc) เป็นองค์ประกอบของ stratum granulosum ติดกับชั้น corneum ลูกศรชี้เซลล์ที่มี cytoplasm ใส แทรกอยู่ใน stratum spinosum และ basale คือ melanocyte (m) ส่วนเซลล์ทั่ว ๆ ไปของหนังกำพร้า ที่ภายในบรรจุเม็ดสีน้ำตาล หรือไม่ เรียกว่า keratinocytes (kc) เพราะเซลล์ชนิดนี้ สามารถรับเม็ดสี ( melanosome) ที่สร้างมาจาก melanocytes เข้าไว้ในตัวเซลล์เรียกขบวนการหลั่งแบบ melanocytes นี้ว่า cytorine secretion เพราะมีบางส่วนของ cytoplasm ที่ล้อมรอบ melanosomes ของ melanocytes เก็บกินโดย keratinocytes ส่วนบริเวณขอบบน dermal papilla (dp) มี stratum basale ซึ่งประกอบด้วย simplecolumnar epithelium |
---|
 | Figure 4 : ภาพวาดแสดงองค์ประกอบของผิวหนัง ชั้นหนังกำพร้า เซลล์ชั้นบนสุดเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ส่วนเซลล์ชั้นล่างสุด เป็น basal cell layer วางอยู่บน basement membrane ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นเนื้อประสาน ชั้นหนังแท้ประกอบด้วย เนื้อประสานที่เรียงตัวกันไม่เป็นระเบียบ(ให้สังเกตลักษณะของเซลล์ชนิดต่าง ๆ ในชั้นหนังกำพร้า และมีการแบ่งออกเป็น 4 ชั้น) |
---|
 | Figure 5 : ผิวหนังแสดงชนิดต่าง ๆ ของ keratinocytes ที่เป็นองค์ประกอบในชั้นหนังกำพร้า Bc = Basal cells อยู่ใน stratum germinativumPc = Prickle cells อยู่ใน stratum spinosumGc = Granular cells อยู่ใน stratum granolusum เหนือชั้น granular cells คือ stratum lucidum (StL)M = Melanocyte สร้าง melanosomesD = Dermal papillae ส่วนของหนังแท้ สวมอยู่ในส่วนของหนังกำพร้าที่ เรียกว่า Epidermal ridge (E) |
---|
 | Figure 6 : หนังกำพร้ากำลังขยายสูง แสดงลักษณะของ spinous (prickle) cells ซึ่งเป็นรูปหลาย เหลี่ยม มี Intercellular bridges (Icb) จำนวนมาก สัมผัสกับเซลล์ข้างเคียง ในระดับ ภาพอิเลคตรอน Icb คือ Desmosome (Macula adherens) นั่นเอง ทำหน้าที่ยึดติดกับ เซลล์ข้างเคียง |
---|
 | Figure 7 : หนังกำพร้ากำลังขยายสูงขึ้น แสดงลักษณะของ granular cells (ศรชี้) มี nucleus ใส ภายใน cytoplasm ของเซลล์เหล่านี้ บรรจุ keratohyalin granules ติดสีน้ำเงินเข้ม ให้สังเกต เมื่อเซลล์ในชั้น stratum spinosum ถูกดันเลื่อนขึ้นกลายเป็นชั้น stratum granulosum นั้น เซลล์เหล่านี้จะแบบลง เหนือต่อชั้นนี้ คือ stratum lucidum (st. luc) ซึ่งไม่สามารถบ่งชี้ตัวเซลล์ ได้เลย |
---|
 | Figure 8 : ภาพผิวหนังกำลังขยายสูงขึ้น แสดงบริเวณส่วนปลายของ epidermal ridge (ติดสีเข้ม) แทรกอยู่ระหว่าง dermal papillae (ติดสีอ่อน,dp) ศรชี้ melanocyte มี cytoplasm ใส แทรกอยู่ระหว่างเซลล์ที่มีรูปร่าง เป็นรูปทรงลูกเต๋า หรือ รูปทรงกระบอก ซึ่งเป็นเซลล์ ในชั้น stratum germinativum (st. ger) |
---|
 | Figure 9 : ภาพ whole mount ของ amphibian skin แสดงลักษณะของ melanocyte ที่มี cytoplasmic processes (p) จำนวนมาก เซลล์ชนิดนี้ ถือกำเนิดมาจาก neural crest สร้าง melanin (เม็ดสี) ซึ่งมี 2 ชนิด คือ eumelanin (สีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ) และ pheomelanin (สีสนิม) โดย melanin สร้างมาจากกรดอะมิโน tryosine บรรจุอยู่ไป melanosomes และหลั่งออกจาก melanocytes และถูกเก็บกลับเข้าไปอยู่ใน cytoplasm ของ keratinocytes. |
---|
 | Figure 10 : ภาพระดับกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน แสดง Langerhans cell ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเซลล์ที่อยู่ ใน Monophagocytic System(ศึกษาในบทที่ 4) คือมีแหล่งกำเนิดมาจาก monocytes ในไขกระดูก เซลล์ชนิดนี้มีความสำคัญ เกี่ยวกับการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย เพราะบริเวณผิวของ เซลล์มี Fc, Ia และ C3 receptors ลักษณะสำคัญที่บ่งชี้เซลล์ นี้ได้ในระดับภาพอิเลคตรอนคือภายใน cytoplasm บรรจุ rod-shaped bodies (หัวศรชี้) ในการย้อม H&E ไม่สามารถบ่งชี้ได้ เซลล์ชนิดนี้พบใน stratum spinosum ลักษณะมีแขนงของ cytoplasm แต่ไม่มี desmosome สัมผัสกับเซลล์ข้างเคียงเช่น เดียวกับ melanocyte |
---|
 | Figure 11 : ภาพผิวหนังชนิดหนา แสดง DP = Dermal papillae, E = Epidermis (หนังกำพร้า) k = keratin (ขี้ไคล) และ Meissner's corpuscle = M ซึ่งเป็น sensory receptor รับความรู้สึกสัมผัส บรรจุอยู่ใน dermal papilla ในสังเกตแนวติดน้ำเงินเข้ม ซึ่งเป็น Stratum granulosum |
---|
 | Figure 12 : ภาพวาดสามมิติแสดงความสัมพันธ์ ของอวัยวะชนิดต่าง ๆ ที่กำเนิดมาจากผิวหนัง นั่นคือ ต่อมเหงื่อชนิด Eccrine sweat gland (สร้างและหลั่งเหงื่อผ่านท่อออก ตรงสู่ ผิวหนัง) และ Apocrine sweat (สร้างและหลั่งเหงื่อผ่านท่อ โดยออกทางต่อมขนสู่ ผิวหนัง) ต่อมขนที่มีสัมพันธ์อยู่กับ ต่อมไขมัน (sebaceous gland) และ กล้ามเนื้อเรียบ ดึงขน (Arrcetor pili muscle) จาก Montagna, W., and Parakkal, P.F. 1974. The Structure and Function of skin. New York : Academic Press) |
---|
 | Figure 13 : ภาพวาดองค์ประกอบของต่อมขน แสดงการกระจายของ soft keratin (ติดสีชมพู กลาง) hard keratin (ติดสีชมพูอ่อน) และ keratogenous zone คือ ขน (ติดสีชมพูเข้ม) ต่อมขนประกอบด้วย (ศึกษาตัดตามขวาง) Figure 15 1. Internal root sheath เซลล์ชั้นนี้กลายเป็น soft keratin ในระดับบนมีช่องให้ต่อมไขมัน (sebaceous gland) หลั่งไขมันออกมา รอบตัวขน2. External root sheath ชั้นนี้ไม่เกี่ยวกับการสร้างขน3. Sheath of connective tissue เป็นชั้นเนื้อประสานที่อยู่นอกสุด และต่อเนื่องกับ connective tissue (hair) papilla ซึ่งบริเวณนี้มี hair matrix คลุมอยู่ โดยที่ hair matix ประกอบด้วย germinative layer ของต่อมขน และมักพบ melanocytes กระจายแทรกอยู่ ในชั้นนี้เพราะเป็นเซลล์ที่ ทำให้ขนสีดำหรือน้ำตาลขน (Hair) ประกอบด้วยชั้น cuticle, cortex และ medulla ตามลำดับให้สังเกตตำแหน่งของ กล้ามเนื้อเรียบดึงขน (Arrector pili muscle) (จาก Histology : A Text and Atlas by Ross et al., 3rd ed., 1995, p 385) |
---|
 | Figure 14 : ภาพบริเวณหนังศีรษะ (scalp) แสดง Arrector pili muscle (Ar), D = Dermis (หนังแท้) มีส่วนหนังกำพร้าคลุม, HF = Hair Follicle (ต่อมขน) และต่อมไขมัน (Sebaceous gland = Sb) |
---|
 | Figure 15 : ภาพต่อมขนตัดตามขวาง โดยมีชั้นต่าง ๆ ดังนี้1 = Sheath of connective tissue2 = glassy membrane3a, 3b = External root sheath4 = Henle's layer (internal root sheath)5 = Huxley's layer (internal root sheath 6+7 = Cuticle ( hair shaft.)8+9 = Cortex ( hair shaft.) |
---|
 | Figure 16 : ภาพกำลังขยายสูง แสดงลักษณะต่อมไขมัน (Sebaceous gland) ซึ่งสร้าง และหลั่งไขมัน (sebum) ออกมาคลุมขนและผิวหนัง โดยการหลั่งเป็นชนิด holocrine secretion (สิ่งที่หลั่งออกมามีทั้งตัวเซลล์ ที่ตายและไขมัน) แต่ละต่อมไขมันประกอบด้วย กระเปาะที่มีแขนง และท่อหลั่งขนาดสั้นผ่านออกทางต่อมขน แต่ละกระเปาะประกอบด้วยเซลล์กลมบรรจุ lipid filled vacuoles อยู่เต็ม (ไม่ติดสีเห็นใส) มีนิวเคลียส์ขนาดเล็กติดสีเข้ม อยู่กลางเซลล์ เมื่อเซลล์เหล่านี้ตายไป จะหลั่งออกมาปนกับ sebum จากนั้นเซลล์จะถูกแทนที่โดยเซลล์ในชั้น basale ที่มี การแบ่งตัวแบบ mitosis |
---|
 | Figure 17 : ต่อมเหงื่อชนิด Eccrine sweat gland ซึ่งเป็น simple coiled tubular gland หลั่งเหงื่อเพื่อ ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย โดยมีท่อหลั่งส่งออก ตรงสู่ผิวหนัง ต่อมเหงื่อชนิดนี้พบอยู่ทั่วร่างกาย ยกเว้นบริเวณริมฝีปาก และ external genitalia ส่วนประกอบของเซลล์ที่ สร้างเหงื่อติดสีอ่อน เรียกว่า secretory portion มี myoepithelial cells (my) ล้อมรอบ secretory cells ซึ่งมี 2 ชนิด คือ clear cells และ dark cells ลักษณะของเซลล์เรียงตัวเป็นแบบ pseudostratified epithelium บางตำราว่าเป็นแบบ simple cuboidal epithelium ส่วน excretory portion หรือ duct (dct) ติดสีเข้ม และดาดด้วย stratified cuboidal epithelium, ves = blood vessel |
---|
 | Figure 18 : ต่อมเหงื่อชนิด Apocrine sweat gland พบบริเวณ รักแร้, areola และ nipple ของ mammary gland, ในช่องหูส่วนนอก และperianal region ต่อมเหงื่อชนิดนี้มี ท่อหลั่งออกกว้างและผ่านออกทางต่อมขน ลักษณะสำคัญของ secretory portion คือ ประกอบด้วย simple columnar epithelium บริเวณผิวบนสุดของเซลล์มีลักษณะนูนหรือ โป่งขึ้น เรียกว่า Apical cap (AP), ส่วน myoepithelial cells สัมผัสกับ basal lamina บริเวณ excretory duct (dct) ดาดด้วย stratified cuboidal epithelium ต่อมเหงื่อชนิดนี้ทำงาน ระยะวัยหนุ่มสาว เพราะการเจริญเติบโตของ ต่อมขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเพศ |
---|
 | Figure 19 : ภาพปลายนิ้ว (Fingernail) แสดง D = Dermis, NP = Nail plate ซึ่งประกอบด้วย dense keratinised plate วางอยู่บน stratified squamous epithelium เรียกว่า nail bed (NB), บริเวณหนังกำพร้าที่ยื่นอยู่ใต้ต่อ แผ่นเล็บ คือ Hyponychium = Hypo |
---|