Figure 131 :ภาพ diagram แสดง renal glomerulus ที่มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างอื่น ตรงบริเวณ vascular pole (ขั้วทางเข้า-ออกของเส้นเลือด, ล่าง) และ urinary pole (ขั้วทางออกของน้ำปัสสาวะสู่ท่อไต บน), Mesangial cells มีความสัมพันธ์อยู่กับ capillary endothelium และ glomerular basement membrane ส่วน macula densa cells เป็นเซลล์ชนิดพิเศษของ distal convoluted tubule ที่ไปสัมผัสอยู่กับ extraglomerular mesangial cells และ juxtaglomerular cells ซึ่งพวกเซลล์ชนิดหลังเป็น modified smooth muscle cells ของผนัง afferent arteriole และพบตรงบริเวณ vascular pole เท่านั้นบริเวณ vascular pole มี afferent arteriole นำเลือดเข้า glomerulus ต่อมาแตกแขนงให้เป็น glomerular capillary network ฝังอยู่ใน Bowman's capsule ซึ่งดาดด้วยเนื้อผิวชนิด simple squamous epithelium 2 ชั้น คือ parietal layer และ visceral layer (เปลี่ยนเรียกชื่อเซลล์ที่ดาดใหม่ว่า podocytes) ลักษณะ podocytes เป็นเซลล์ที่มีการแตกแขนง (primary และ secondary process) โดย secondary processes (pedicel) เกาะที่ glomerular capillary basement membrane ทำให้เกิดมี slit membrane (ช่องระหว่าง pedicels 2 อัน ที่อยู่ใกล้กันของ podocyte บน basement membrane) ส่วน efferent arteriole นำเลือดที่รวมมาจาก glomerular capillary network ออกจาก vascular pole สังเกต glomerular capillaries เป็นชนิด fenestrated capillaries ที่ไม่มี diaphragms กั้น ส่วน mesangial cells และ extracellular matrix รวมกันเป็นแกนพยุง glomerular capillary network เรียกรวมกันว่า mesangium พบว่า mesangial cells มีลักษณะคล้ายกับ pericytes เพราะมี basal lamina ของ glomerular capillaries ล้อมรอบ หน้าที่ของเซลล์ชนิดนี้ ยังไม่ทราบชัดเข้าใจว่ามีหน้าที่เกี่ยวกับ phagocytosis และสร้าง matrix เพื่อพยุง podocytes.(จาก Histology : A Text and Atlas, 3rd ed., by Ross et.al., 1995, pp.564)