ภาพและคำอธิบายประกอบ

Figure 1 : ผิวหนังหนา (Thick skin) พบที่ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ชั้นหนังกำพร้า (E=Epidermis) ประกอบด้วย stralified sqamous keratimising epithelium มีชั้น ขี้ไคล (keratin) หนามาก โครงสร้างที่พยุงหนังกำพร้าคือ หนังแท้ (Dermis) ซึ่งแบ่งออกเป็น Papillary หนังกำพร้าคือ หนังแท้ (Dermis) ซึ่งแบ่งออกเป็น Papillary Dermis (PD) และ Reticular Dermis (RD) ชั้นหนังแท้ประกอบด้วย dense inegularly arranged bro-elastic tissue บรรจุ ต่อมเหงื่อ ต่อมขน ต่อมไขมัน เส้นเลือด และเส้นประสาท ชั้นใต้หนังแท้ คือ Hypodermis (HD) มีองค์ประกอบ เป็น loose areolar connective tissue ที่มีเนื้อไขมันมาก ทำให้ชั้นนี้นุ่มและเป็นชั้นฉนวนซึมซับ (shoch-absorbing loyer) สังเกต ขั้นหนังแท้ติดสีอ่อนกว่าชั้นหนังกำพร้า ส่วนของหนังกำพร้ามีเส้นสีเข้มเป็นขอบชั้นนี้คือ Stratum granulosum


Figure 2 : ผิวหนังหนาขยายใหญ่ขึ้น แสดงลักษระเนื้อผิวของชั้นหนังกำพร้าเป็นชนิด stratified squamous epithelium ที่มี keratin (k) ขี้ไคลหนา. ส่วนหนังแท้เป็น drese irregular collagenous tissiue เป็นส่วนใหญ่ ติดสีอ่อน ให้สังเกต gramular cells ซึ่งภายใน cytoplasm บรรจุ qramutes ติดสีเข้ม


Figure 3 :ผิวหนังชนิดบาง มี keratin (k) บางมาก ไม่มีชั้น stratum lucidum พบ granular cells (gc) เป็นองค์ประกอบของ stratum granulosum ลูกศรชี้เซลล์ที่มี cytoplasm ใส แทรกอยู่ใน stratum spinosum และ basale คือ melanocyte (m) ส่วนเซลล์ที่ภายในบรรจุเม็ดสีน้ำตาล คือ keratnocytes โดยรับเม็ดสี ( melanosome) ที่สร้างมาจาก melanocytes เข้าไว้ในตัวเซลล์เรียกขบวนการนี้ว่า cytorine secretion เพราะมีบางส่วนของ cytoplasm ที่ล้อมรอบ melanocytes ของ melanocytes เก็บกักโดย keratinocytes ชั้น dermal papilla (dp) มี stratum basale ซึ่งประกอบด้วย simple columnar epithelium เป็นขอบบนสุด


Figure4 :ภาพวาดแสดงองค์ประกอบของผิวหนัง ชั้นหนังกำพร้านั้นเซลล์ชั้นบนสุดเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว เซลล์ชั้นล่างสุด เป็น basal cell layer วางอยู่บน basement ซึ่ง membrane มีองค์ประกอบเป็นเนื้อประสานชั้นหนังแท้ประกอบด้วยเนื้อประสานที่เรียงตัวกันไม่เป็นระเบียบ


Figure 5 :ผิวหนังแสดงชนิดของเซลล์ที่เป็นองค์ประกอบของหนังกำพร้า

  • Bc = Basal cells อยู่ใน stratum germinativum
  • Pc = Prickle cells อยู่ใน stratum spinosum
  • Gc = Granular cells อยู่ใน stratum granolusum
  • เหนือชั้น granular cells คือ stratum lucidum (StL)
  • M = Melanocyte สร้าง melanosomes
  • D = Dermal papillae สวมอยู่ในส่วนของหนังกำพร้าที่เรียกว่า Epidermal ridge (E)


    Figure 6 :หนังกำพร้ากำลังขยายสูงแสดงลักษณะของ spinous (prickle) cells ซึ่งเป็นรูปหลาย เหลี่ยม มี Intercellular bridges (Icb) จำนวนมาก สัมผัสกับเซลล์ข้างเคียง ในระดับ ภาพอิเลตรอน Icb คือ Desmosome (Macula adherens) นั่นเอง ทำหน้าที่ยึดติดกับ เซลล์ข้างเคียง


    Figure 7 :หนังกำพร้ากำลังขยายสูงขึ้นแสดงลักษณะของ granular cells (ศรชี้) มี nucleus ภายใน cytoplasm ของเซลล์เหล่านี้ บรรจุ keratohyalin granules ติดสีน้ำเงินเข้ม ให้สังเกต เมื่อเซลล์ในชั้น stratum spinosum ถูกดันเลื่อนขึ้นกลายเป็นชั้น stratum granulosum นั้น เซลล์เหล่านี้จะแบบลง เหนือต่อชั้นนี้ คือ stratum lucidum ซึ่งไม่สามารถบ่งชี้ตัวเซลล์ ได้เลย


    Figure 8 :ภาพผิวหนังกำลังขยายสูงชั้นแสดงบริเวณส่วนปลายของ epidermal ridge (ติดสีเข้ม) แทรกอยู่ระหว่าง dernal papillae (ติดสีอ่อน) ศรชี้ melamocyte มี cytoplasm ใส แทรกอยู่ในระหว่างเซลล์ที่รูปร่างเป็นรูปทรงลูกเต๋า หรือ รูปทรงกระบอก ซึ่งเป็นชั้น stratem germinativum


    Figure 9 :ภาพ amphibian skin แสดงลักษณะของ melanocyte ที่มี cytoplasmic processes จำนวนมาก เซลล์ชนิดนี้ ถือกำเนิดมาจาก neural crest สร้าง melanin (เม็ดสี) ซึ่งมี 2 ชนิด คือ eumelanin (สีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ) และ pheomelanin (สีสนิม) โดย melamin สร้างมาจากกรดอะมิโน tryosine บรรจุอยู่ไป melanosomes และหลั่งออกจาก melanocytes และถูกเก็บกลับเข้าไปอยู่ใน cytorlasum ของ keratinocytes.


    Figure 10 :ภาพระดับกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน แสดง Langerhans cell ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเซลล์ที่อยู่ ใน Monophagocytic System คือมีแหล่งกำเนิดมาจาก monocytes ในไขกระดูก เซลล์ชนิดนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพราะบริเวณผิวของ เซลล์มี Fc, Ia และ C3 receptors ลักษณะสำคัญที่บ่งชี้เซลล์ นี้ได้ในระดับภาพอิเลคตรอนคือภายใน cytoplesm บรรจุ rod-bhaped sodies (หัวศรชี้) ในย้อน H&E ไม่สามารถบ่งชี้ได้ เซลล์ชนิดนี้พบใน stratum spinosum ลักษณะมีแขนงของ cytoplasm แต่ไม่มี desmosome สัมผัสกับเซลล์ข้างเดียวเช่น เดียวกับ melanocyte


    Figure 11 :ภาพผิวหนังชนิดหนา แสดง DP = Dermal papillae, E = Epidermis (หนังกำพร้า) k = keratin (ขี้ไคล) และ Meissner's corpuscle = M ซึ่งเป็น sesory receptor รับความรู้สึกสัมผัส บรรจุอยู่ใน dermal papilla ในสังเกตแนวติดน้ำเงินเข้ม ซึ่งเป็น Stratum granulosum


    Figure 12 :ภาพวาดสามมิติแสดงความสัมพันธ์ของอวัยวะชนิดต่าง ๆ ที่กำเนิดมาจากผิวหนัง นั่นคือ ต่อมเหงื่อชนิด Eccrine sweal gland(สร้างและหลั่งเหงื่อผ่านท่ออกตรงสู่ผิวหนัง) และ Apocrine sweat (สร้างและหลั่งเหงื่อออกตามท่อผ่านออกทางต่อมขน) ต่อมขน ที่สัมพันธ์อยู่กับ ต่อมไขมัน (sebaceous gland) และ กล้ามเนื้อเรียบดึงขน (Arrcetor pili muscle)


    Figure 13 :ภาพวาดองค์ประกอบของต่อมขน แสดงการกระจายของ soft keratin (ติดสีชมพูกลาง) hard keratin (ติดสีชมพูอ่อน) และ keratogenous zone คือ ขน (ติดสีชมพูเข้ม) ต่อมขนประกอบด้วย 1. Internal root sheath เซลล์ชั้นนี้กลายเป็น soft keratin ในระดับบนมีช่องให้ต่อมไขมัน (sebaceous gland) หลั่งออกมารอบตัวขน 2. External root sheath ชั้นนี้ไม่เกี่ยวกับการสร้างขน 3. Sheath of connection tissue ) เป็นชั้นเนื้อประสานที่อยู่นอกสุด และต่อเนื่องกับ connectiven tissue (hair) papilla ซึ่งบริเวณนี้มี hair matrix คลุมอยู่ โดยที่ hair matix ประกอบด้วย germinative layer ของต่อมขน และมักพบ melanocytes กระจายอยู่ทั่วไปทำให้ขนสีดำหรือน้ำตาล ขน (Hair) ประกอบด้วยชั้น cuticle, cortex และ medulla ให้สังเกตตำแหน่งของ กล้ามเนื้อดึงขน (Arrector pili muscle)