อวัยวะชนิดต่างๆ ที่กำเนิดมาจากผิวหนัง (derivatives of skin) ได้แก่
1. ขน (Hair) (Figure 14) เป็นส่วนของหนังกำพร้าที่เจริญหวำลงในส่วนของหนังแท้ (dermis) หรือใต้ต่อหนังแท้ (hypodermis) ขนประกอบด้วย ตัวขน (shaft) ซึ่งเป็น cornified cells และรากขน (root) โดยทั้ง 2 ส่วน มีเปลือกหุ้มหลายชั้นรวมเรียกว่าต่อมขน (hair follicle) รากของต่อมขนมีลักษณะเป็นกระเปาะเรียกว่า hair bulb ซึ่งประกอบด้วยเนื้อประสานส่วน hair papilla และ hair root ต่อมขนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับต่อมไขมัน เปลือกของต่อมขนประกอบด้วยชั้นต่างๅ (Figure 13) และ (Figure 15) ดังนี้
      a) Connective tissue sheath (เนื้อประสานหุ้ม)
      b) Glassy membrane เป็น modified basement membrane
      c) External root sheath ประกอบด้วยเซลล์รูปหลายเหลี่ยม 2-3 ชั้น และเซลล์รูปทรงกระบอกหนึ่งชั้นที่บริเวณฐาน
      d) Internal root sheath ประกอบด้วย 3 ชั้นคือ Henle's layer, Huxley's layer และ cuticle ชั้นนี้สิ้นสุดตรงบริเวณส่วนคอของต่อมขนเพราะเป็นส่วนที่ท่อของต่อมไขมันมาเปิดออก และเทลงสู่ต่อมขน
      e) Cuticle of the hair (ผิวเปลือกเคลือบของขน) ประกอบด้วย keratinized cells ที่เรียงเหลื่อมกัน
      d) Cortex คือ เนื้อขนด้านนอก ประกอบด้วย keratinized cells
      e) Medulla คือเนื้อขนด้านใน ลักษณะเป็นแกนของตัวขนที่ประกอบด้วย keratin ชนิดอ่อน
2. ต่อมไขมัน (Sebaceous gland) (Figure 16) มีลักษณะคล้ายถุงชนิด saccules และมักมีความสัมพันธ์กับต่อมขน ต่อมไขมันเป็นชนิด branched alveolar holocrine glands สร้างไขมัน (sebum) ผ่านออกทางท่อสั้นเทลงสู่ส่วนคอของต่อมขน
3. กล้ามเนื้อเรียบดึงขน (Arrector Pili Muscle) (Figure 13) และ (Figure 14) ยึดอยู่ระหว่างต่อมขนและ papillary layer ของหนังแท้ กล้ามเนื้อนี้รองรับต่อมไขมัน เมื่อไรกล้ามเนื้อนี้หดตัวจะดึงขนให้ตั้งขึ้น เรียก goose bumps เป็นผลให้ปล่อยความร้อนและหลั่งไขมันออกมา องค์ประกอบของต่อมไขมันและกล้ามเนื้อเรียบดึงขนรวมเรียกว่า pilosebaceous apparatus (Figure 12)
4. ต่อมเหงื่อ (Sweat gland) (Figure 17) เป็น simple, coiled tubular glands ที่มีส่วนสร้างและหลั่งน้ำเหงื่อเรียกว่า secretory portion ซึ่งประกอบด้วย simple cuboidal epithelium ในระดับ EM เนื้อผิวนี้ประกอบด้วย dark cells และ light cells นอกจากนั้นพบ myoepithelial cells รองรับ secretory cells ท่อที่นำน้ำเหงื่อออกคือ excretory portion (duct) ดาดด้วย stratified cuboidal epithelium ซึ่งเซลล์พวกนี้มีขนาดเล็กและติดสีเข้ม ต่อมเหงื่อมี 2 ชนิดคือ Merocrine (eccrine) sweat gland (Figure 17) สร้างน้ำเหงื่อใส และพบทั่วไปยกเว้นที่ glans penis, clistoris และ labia minora พบมากที่ฝ่ามือฝ่าเท้า และต่อมชนิดนี้มีท่อตรงออกมาที่ผิวหนัง ต่อมเหงื่อชนิดที่ 2 คือ Apocrine sweat glands ต่อมมีขนาดใหญ่ สร้างเหงื่อข้นเหนียว และมีท่อเทลงสู่ต่อมขน มีลักษณะทางฮิสโตแตกต่างจากชนิดแรก (Figure 18) และเริ่มทำงานในระยะวัยหนุ่มสาว พบบริเวณเฉพาะคือรักแร้, areola และ nipple ของต่อมน้ำนม ส่วน Ceruminus glands พบที่หูส่วนนอก, Glands of Moll (บริเวณเปลือกตา) และต่อมน้ำนม จัดอยู่ในพวก modified apocrine sweat gland
5. เล็บ (Nail) (Figure 19) เป็นโครงสร้างที่แข็ง (dense keratinised nail plate) พบบริเวณปลายนิ้วมือและนิ้วเท้า คลุมอยู่บน nail bed ซึ่งประกอบด้วยชั้น basale และ spinosum ของหนังกำพร้า ขอบด้านข้างของแผ่นเล็บเรียกว่า nail wall โดยมีร่องที่ฐานเรียก lateral nail groove หนังกำพร้าชั้น stratum corneum ที่ยื่นออกมาคลุมเหนือต่อ nail plate เรียกว่า eponychium (cuticle) แต่ถ้าพบอยู่ใต้ต่อแผ่นเล็บส่วนที่ยื่นออก เรียกว่า hyponychium บริเวณโคนแผ่นเล็บทางด้านหลังและคลุมบน nail matrix เรียก nail root ตรงโคนแผ่นเล็บมีลักษณะสีขุ่นขาวเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว เรียกว่า Lunula เนื้อผิวที่อยู่ใต้ต่อ lunula คือ nail matrix เป็นส่วนที่เจริญให้เป็น nail plate