ความผิดปกติ ในระบบเลือดหมุนเวียน
(Vascular disturbances)

เรียบเรียงโดย สรรเพชญ เบญจวงศ์กุลชัย พบ.

การบิดของลูกอัณฑะ (Torsion of testis) [รูป]
    เกิดจาก การบิด ตัวเป็นเกลียว บริเวณ ท่ออสุจิ (spermatic cord)  ของลูกอัณฑะ  ทำให้ ลูกอัณฑะ ถูกกระทบ กระเทือน  จาก การขาดเลือด ไปเลี้ยง และ เลือด ที่ไปเลี้ยง ไหลกลับไม่ได้  สาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจาก การถูก กระทบ หรือ การเคลื่อนไหว อย่างรุนแรง ของลูกอัณฑะ อย่างไรก็ตาม ส่วนมาก มีสาเหตุอื่นนำ ร่วมด้วย เช่น การที่ ลูกอัณฑะ ไม่เคลื่อน ลงสู่ ถุงอัณฑะ หรือ ในรายที่ ปราศจาก เอ็นยึด ถุงอัณฑะ (scrotal  ligament) หรือ gubernaculum testis หรือในรายที่ ลูกอัณฑะ ฝ่อ เล็กลง ทำให้ ลูกอัณฑะ มีอิสระ ในการเคลื่อนไหว มากขึ้น เป็นต้น ผู้ป่วย มาหา แพทย์ ด้วยเรื่อง ปวดอัณฑะ อย่างรุนแรง    ถุงอัณฑะ บวมแดง ลูกอัณฑะ แข็งเป็นลำ  ถุงอัณฑะ อาจโป่ง ตึงกว่า ธรรมดา  เมื่อใช้ เข็ม เจาะเข้าใน ถุงอัณฑะ มักจะ ดูด ได้น้ำ สีแดงคล้ำ  อาการ นำมาของ ผู้ป่วย อาจทำให้ แพทย์ คิดว่าเป็น โรคอัณฑะอักเสบ ได้   ทำให้ การรักษา ล่าช้า   ถือเป็น ภาวะฉุกเฉิน ทางศัลยกรรม  ต้องรับ รักษา โดยด่วน  ถ้าทิ้งไว้นาน อาจทำให้ ลูกอัณฑะ ตายได้ พบได้ ในวัยเด็กเล็ก หรือ วัยเรียน รวมทั้งใน ผู้ใหญ่ พบได้เช่นกัน พยาธิสภาพ ของลูกอัณฑะบิด อาจพบ การเปลี่ยนแปลง เพียงเล็กน้อย  เช่น พบเพียง การคั่ง ของเส้นเลือด   จนถึง การตาย ของเนื้ออัณฑะ หรือ พบพร้อมกับ เลือดออกทั่วไป ใน ลูกอัณฑะ  ทำให้ ลูกอัณฑะ เปลี่ยนเป็น สีดำ   ในรายที่ พบการ ตายของ เนื้ออัณฑะ มักพบเป็น ซาก ของ หลอดสร้าง เชื้ออสุจิ  (seminiferous tubule) ซึ่งอาจมี หรือ ไม่มี เซลล์อักเสบ ร่วมด้วย

  1. Torsion testis, low power, gross.
  2. Torsion testis, low power, microscopy
  3. Torsion testis, low power, microscopy
  4. Torsion testis, vascular congestion with thrombosis, low power, microscopy
  5. Torsion testis, high power, microscopy