ต่อมลูกหมาก
(PROSTATE GLAND)
เรียบเรียงโดย สรรเพชญ เบญจวงศ์กุลชัย พบ.



กายวิภาคต่อมลูกหมาก (Anatomy of prostate gland)
การอักเสบของต่อมลูกหมาก (Inflammations)
ต่อมลูกหมาก อักเสบ ชนิดเฉียบพลัน (Acute prostatitis)
ต่อมลูกหมาก อักเสบ ชนิดเรื้อรัง  (Chronic prostatitis)
มาลาโกพลาเกีย (Malakoplakia)
ต่อมลูกหมากโต  Nodular   Hyperplasia  (Benign   Prostatic  Hypertrophy or Hyperplasia, BPH)
Infarction
โรคมะเร็งของต่อมลูกหมาก  (Malignant tumor of prostate gland)
Latent   carcinoma
Incidental     carcinoma
Occult   carcinoma
Clinical   carcinoma


คลิกดูชุด สไลด์ ประกอบการสอนพยาธิวิทยาของต่อมลูกหมาก


กายวิภาคต่อมลูกหมาก (Anatomy of prostate gland)
        ต่อมลูกหมาก (prostate   gland)  ทำหน้าที่ ช่วยสร้าง น้ำเมือก หล่อเลี้ยง ตัวอสุจิ  ปกติ มีอยู่  5  กลีบ  คือ  กลีบหน้า (anterior)  กลีบกลาง (middle)    กลีบหลัง (posterior)   และกลีบข้าง (lateral) สองกลีบ ต่อมลูกหมาก อยู่บริเวณ โดยรอบ ท่อปัสสวะ ส่วนต้น     และ ประกอบด้วย เซลล์ cuboidal   หรือ  columnar  ต่อมลูกหมาก ถูกกระตุ้นจาก ฮอร์โมน ของลูกอัณฑะ และ ต่อมใต้สมอง และเติบโต เต็มที่ใน วัยหนุ่มสาว

การอักเสบของต่อมลูกหมาก (Inflammations)
ต่อมลูกหมาก อักเสบ ชนิดเฉียบพลัน (Acute prostatitis)
    Acute prostatitis with abscesses, gross.
    Acute prostatitis with abscesses, microscopy, high power.
    Acute prostatitis with abscesses, microscopy, medium power.
    การอักเสบ เฉียบพลัน ของ ต่อมลูกหมาก มีสาเหตุจาก การติดเชื้อ ที่มาจาก การอักเสบ ของทางเดินปัสสวะ ส่วนปลาย หรือของ กะเพาะปัสสวะ  นอกจากนี้ ยังมี สาเหตุ เกี่ยวข้องกับ การผ่าตัด บริเวณ ทางเดินปัสสวะและ ต่อมลูกหมาก  เช่น การสอดท่อ เพื่อสวน ปัสสวะ การส่องกล้อง ตรวจ และ ขยาย ทางเดินปัสสวะ  และ การผ่าตัด ต่อมลูกหมาก  เป็นต้น โดยมาก เกิดจาก เชื้อบักเตรี และ เป็นเชื้อ ชนิดเดียวกับ ที่ทำให้เกิด ทางเดินปัสสวะ อักเสบ  เช่น   E.coli, Klebsiella,  Proteus และ Neisseria เป็นต้น พยาธิสภาพ ของ ต่อมลูกหมาก  ส่วนใหญ่ มักจะโต  นุ่ม และบวมน้ำ หรือ มีเลือดคั่ง พบหย่อม หนอง กระจายทั่วไปในต่อมลูกหมาก ภาพจาก กล้องจุลทรรศน์ พบ เซลล์อักเสบ ชนิดเฉียบพลัน ทั่วไปใน ต่อมลูกหมาก   พร้อมกับ พบหย่อมเนื้อตาย และ ฝีหนอง กระจายทั่วไป ต่อมลูกหมาก ผลิตน้ำเมือก เพิ่มมากกว่า  ปกติ ทำให้ ภายใน ต่อม ขยายใหญ่ขึ้น และ มี เซลล์อักเสบ ชนิดเฉียบพลัน ขังอยู่  หรือบางรายอาจพบ เนื้อเยื่อ ไฟบรัส กระจายเป็นหย่อม

ต่อมลูกหมาก อักเสบ ชนิดเรื้อรัง  (Chronic prostatitis)
     การอักเสบ เรื้อรัง ของต่อมลูกหมาก พบค่อนข้าง บ่อย    ส่วนมาก พบใน ผู้ป่วย สูงอายุ   ส่วนใหญ่ มีสาเหตุจาก การติดเชื้อบักเตรี   เช่นเดียวกับ ที่พบใน การอักเสบ ชนิดเฉียบพลัน       หรือ อาจเกิดจาก เชื้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่บักเตรี เช่น Chlamydia  trachomatis ผู้ป่วย มีอาการ เรื้อรัง เช่น ปวดหลัง บริเวณบั่นเอว  ปวดบริเวณ หัวเหน่า  และถ่ายปัสสวะ ลำบาก เป็นต้น หรือ บางรายอาจ ไม่มีอาการใดๆ  พยาธิสภาพจาก กล้องจุลทรรศน์ พบหย่อมของ เซลล์อักเสบ กระจายใน ต่อมลูกหมาก  ส่วนใหญ่เป็น เซลล์ชนิด lymphocyte, plasma cell และ macrophage พร้อมกับพบ หย่อมของเนื้อเยื่อไฟบรัส
     สำหรับ   granulomatous   prostatitis  เป็น การอักเสบ ชนิด  granuloma   ในต่อมลูกหมาก ที่มี การอักเสบ ชนิดเรื้อรัง  สาเหตุ ส่วนใหญ่ มาจากปฎิกิริยา ที่เกิดจาก ผลผลิต ของต่อมลูกหมาก ที่กระจาย ออกจาก ต่อม เข้าไปใน เนื้อ ลูกหมาก   เซลล์ส่วนใหญ่ ที่พบ ได้แก่  lymphocytes,  macrophage, plasma  cell,  เป็นต้น สำหรับชนิด caseating granuloma อาจเกิด จากวัณโรค ซิฟิลิส เชื้อรา หรือ พยาธิใบไม้ในเลือด เป็นต้น
     สำหรับ การติดเชื้อ ปาราสิต ของต่อมลูกหมาก  นอกจาก เกิดจาก พยาธิใบไม้ในเลือด แล้ว  ยังพบ พยาธิ trichomonas vaginalis ทำให้เกิด การอักเสบ ของต่อมลูกหมาก ได้บ่อย
     ก้อนหินปูน ใน ต่อมลูกหมาก (Prostatic calculi) โดยมาก พบได้ประมาณ ร้อยละ   7  ในโรคต่อมลูกหมาก โต ชนิดไม่ร้ายแรง  (BPH)  เกิดจาก หลายสาเหตุ ด้วยกัน เข้าใจว่า เม็ดแป้ง (corpora amylacea) ที่พบภายใน ต่อมลูกหมาก เป็นแกนกลาง ในการสร้าง ก้อนหินปูน ในต่อมลูกหมาก อาจเนื่องจาก หย่อมเนื้อตาย ในต่อม  หรือ การติดเชื้อ บักเตรี  ทำให้มี หินปูน มาพอก  เช่น สารจำพวก เกลือฟอสเฟต ของแคลเซี่ยม  แมกนีเซี่ยม  และโปแตสเซี่ยม  เป็นต้น จาก การคลำ ต่อมลูกหมาก พบว่าแข็ง ทำให้ เข้าใจผิดเป็น มะเร็งได้ ส่วนมาก รักษาด้วย การตัด ต่อมลูกหมาก ออก

มาลาโกพลาเกีย (Malakoplakia)
    Malakoplakia, microscopic low power.
    Malakoplakia, microscopic high power.
     (มาจากภาษากรีก:  Malakos  แปลว่านุ่ม (soft);  Plax แปลว่า แผ่น  (plaque)) เป็น การอักเสบแบบ granulomatous ชนิดหนึ่ง ที่พบ ค่อนข้างน้อย  ไม่ทราบสาเหตุ และมักจะ หายเองได้ ปกติมัก พบที่ กระเพาะปัสสวะ แต่อาจพบได้ ที่ท่อไต (ureter), renal  pelvis  และในไต พยาธิสภาพ เมื่อ มองด้วยตาเปล่า พบเป็น แผ่นนูน   นุ่ม   สีเทา   มีรอยบุ๋บ ตรงกลางแผ่น ขนาดปกติ เส้นผ่าศูนย์กลาง  ระหว่าง  0.5  ถึง 3 เซนติเมตร พยาธิสภาพ จาก กล้องจุลทรรศน์ พบ การอักเสบ ของเซลล์ขนาดใหญ่ เซลล์ชนิดนี้ พบ เม็ดซัยโตพลาสม์ สีแดงทั่วไป ภายใน ซัยโตพลาสม์ ประกอบด้วย ตะกอนสาร แคลเซี่ยม เรียกว่า  Michaelis-Gutmann  bodies  ลักษณะทาง กล้องจุลทรรศน์นี้ บ่อยครั้ง ทำให้ พยาธิแพทย์ วินิจฉัยผิดเป็น  granular cell myoblastoma, carcinoma, และhistiocytoma

ต่อมลูกหมากโต  Nodular   Hyperplasia  (Benign   Prostatic  Hypertrophy or Hyperplasia, BPH)
    Benign Prostatic Hypertrophy, gross.
    Benign Prostatic Hypertrophy, microscopic low power.
    Benign Prostatic Hypertrophy, microscopic medium power.
     ต่อมลูกหมาก โตชนิด ไม่ร้ายแรง ส่วนมาก พบใน ผู้ป่วย สูงอายุ โดยเฉพาะใน ผู้ป่วย ที่มีอายุ ตั้งแต่  50 ปีขึ้นไป และ ร้อยละ 75-80 ของผู้ป่วย ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป พบว่ามี ต่อมลูกหมาก โตชนิดไม่ร้ายแรง สาเหตุ ยังไม่ทราบ แน่ชัด เชื่อว่า เกิดจาก การเปลี่ยนแปลง ของวัย กับ การเปลี่ยนแปลง ทางฮอร์โมน  โดยเฉพาะ ฮอร์โมน ชนิด แอนโดรเจน (androgen) และ เอสโตรเจน (estrogen) ทำ ให้ เกิด การเพิ่มจำนวน ต่อม และ เยื่อเกี่ยวพัน ของต่อมลูกหมาก
     ต่อมลูกหมาก มีขนาดโต ผิวนอกเรียบ มีลักษณะ เป็น ตุ่มก้อน และมี น้ำหนัก เพิ่มมากขึ้น  ปกติ หนัก ประมาณ  20 กรัม เมื่อ ต่อมลูกหมาก โต น้ำหนัก อาจเพิ่ม เป็น  200  ถึง  800 กรัม โดยทั่วไป มี สีขาวเทา แข็ง เหมือน ก้อนยาง หน้าตัด โดยมากมี สีเหลืองปนเทา อาจพบมี เมือกขาว เหมือนน้ำนม บนหน้าตัด ร่วมกับ พบเป็น ซิสเล็กๆ กระจาย บนหน้าตัด หรือ อาจพบ หน้าตัดทึบ อย่างเดียว  ด้าน และลักษณะก้อน เห็นเป็น วงๆ  ภาพจาก กล้องจุลทรรศน์ พบ จำนวนต่อม ของลูกหมาก เพิ่มมากขึ้น  หรือพบ จำนวนเซลล์เยื่อเกี่ยวพัน ทั้งที่เป็น เซลล์กล้ามเนื้อ และ เซลล์ไฟบรัส เพิ่มมากขึ้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่าง เพิ่มมากขึ้น พร้อมกัน
     เนื่องจาก ต่อมลูกหมาก อยู่บริเวณ รอบๆ ทางเดินปัสสวะ ส่วนปลาย  เมื่อโต ขึ้นทำให้ไป กดรัด ทางเดินปัสสวะ เกิด ปัสสวะขัด และ ปัสสวะไม่ออก ได้  ทำให้เป็นสาเหตุ การอักเสบ ของอวัยวะ ที่อยู่ตาม ทางเดินปัสสวะ

Infarction
     ภาวะ การตาย เนื่องจาก ขาดเลือด ของต่อมลูกหมาก   ส่วนมาก เกิดแก่ผู้ป่วย ที่ต้องนอน พักรักษาตัว อยู่เป็นเวลานาน        ทำให้เกิด ก้อนเลือดอุดตัน (thrombosis) ในหลอดเลือดดำ (prostatic venous plexus) หรือ เกิดจาก โรคเส้นเลือดแข็ง (arteriosclerosis), เส้นเลือดอักเสบ (polyarteritis)   หรือ เกิดจาก ก้อนลอย อุดตัน (embolism) ในเส้นเลือด  นอกจากนั้น การทำผ่าตัด บริเวณใกล้เคียง  เช่น  การสอด ท่อสวนปัสสวะ การส่องกล้อง ตรวจ ทางเดินปัสสวะ และตัด ต่อมลูกหมาก  หรือ การนวด ต่อมลูกหมาก เป็นต้น   อาจทำให้เกิด การขาดเลือด ไปเลี้ยง ต่อมลูกหมาก ได้ พยาธิสภาพ จากกล้องจุลทรรศน์ พบ การเปลี่ยนแปลง ของเซลล์เยื่อบุผิว ต่อม เปลี่ยนไปเป็นชนิด สแควมัส (squamous cell metaplasia) ทำให้เห็นเป็น หย่อม ของกลุ่มเซลล์ สแควมัส  ตรงบริเวณ หย่อมเนื้อตาย พร้อม ไฟโปรซิส ทำให้มองดู คล้ายมะเร็ง ได้
    Squamous metaplasia of prostate gland, microscopic medium power.
โรคมะเร็งของต่อมลูกหมาก  (Malignant tumor of prostate gland)
    Prostatic carcinoma, microscopic low power.
    Prostatic carcinoma, microscopic low power.
    Prostatic carcinoma, microscopic medium power.
    Prostatic carcinoma, microscopic high power.
    ชนิดที่พบ บ่อยที่สุด  เป็นชนิด  อดีโนคาร์ซิโนมา (adenocarcinoma) มะเร็ง ต่อมลูกหมาก พบบ่อย เป็น อันดับสอง รองจาก มะเร็งปอด  และเป็นสาเหตุ ของการตาย อันดับสาม ในบุรุษเพศ ส่วนมากพบใน ผู้ป่วยที่มีอายุ สูงกว่า 50 ปีขึ้นไป  โดยมาก ไม่แสดงอาการ  บริเวณ ที่พบบ่อย ที่สุดคือ ที่กลีบหลัง และ กลีบข้าง พยาธิสภาพ ภายนอก พบว่า   แข็ง และ ไม่เรียบ  หน้าตัดมี สีขาวเทา หรือ เหลือง อาจพบ เนื้องอกร้าย ลามไปที่ เปลือกหุ้ม ได้   ภาพจาก กล้องจุลทรรศน์   พบว่า เซลล์มะเร็ง ชนิด   อดีโนคาร์ซิโนมา   ส่วนมากมี รูปร่างหลายแบบ  ชนิดที่มี รูปร่างเพี้ยน  (anaplastic     carcinoma) เป็นชนิดที่ วินิจฉัย ได้ง่ายกว่า ชนิดมี รูปร่าง คงความเป็น ต่อมได้ดี (well  differentiated) โดยทั่วไป พบเป็นลักษณะ ตะแกรง (cribiform) ของกลุ่ม เซลล์มะเร็ง ที่เพิ่มจำนวน อยู่ภายใน ท่อ หรือต่อม หรือ พบเป็น เซลล์มะเร็ง โดดๆ แทรกกระจาย ทั่วไปใน เนื้อเยื่อรอบข้าง (diffuse  individual cell infiltration) ส่วนมากเป็น เซลล์ มะเร็ง ที่มี ไซโตพลาสซึม ใส   ทั้งสองแบบนี้ เป็นแบบที่ ง่าย ต่อ การวินิจฉัย  นอกจากนี้ ยังพบ แบบเป็น ต่อมมะเร็งขนาดกลาง (medium-sized  gland carcinoma) อยู่ใกล้ชิด ติดกัน   แทรกกระจาย เข้าไป ในระหว่าง เนื้อเยื่อรอบข้าง  หรือ อาจพบเป็น ต่อมเซลล์ ขนาดเล็ก (small  gland  carcinoma) แทรกกระจาย ทั่วไปเป็น หย่อมๆ สำหรับ ชนิด สแควมัสเซลคาร์ซิโนมา นั้นพบ น้อยมาก

Latent   carcinoma  (มะเร็ง ต่อมลูกหมาก ที่ หลบซ่อนภายใน)  พบประมาณ ร้อยละ  26  ถึง 37 ของ ต่อมลูกหมาก ที่ได้จาก การตรวจศพ ตายจาก สาเหตุอื่นๆ ทั้งนี้มี รายงาน จากประเทศต่างๆ  ทำให้เชื่อว่า สภาพภูมิประเทศ และ สิ่งแวดล้อม น่าจะ มีส่วน ชักนำ ในการเกิด และ แพร่กระจาย ของมะเร็ง ต่อมลูกหมาก

Incidental     carcinoma  (มะเร็ง ต่อมลูกหมาก ที่พบโดย บังเอิญ) พบประมาณ ร้อยละ  6 ถึง 20 ของ ต่อมลูกหมาก ที่ได้จาก การผ่าตัด และได้ วินิจฉัย ว่าเป็นโรค ต่อมลูกหมากโต ชนิดไม่ร้ายแรง (BPH)    เมื่อนำ ชิ้นเนื้อ ต่อมลูกหมาก เหล่านี้ มาตรวจด้วย กล้องจุลทรรศน์ พบ  กลุ่มเซลล์มะเร็ง ในต่อมลูกหมาก กลุ่มเซลล์มะเร็ง เหล่านี้ อาจอยู่เช่นนั้น เฉยๆ ไม่โต หรือ กระจายออกไป

Occult   carcinoma   (มะเร็งต่อมลูกหมากชนิดแพร่กระจาย)  มะเร็ง ต่อมลูกหมาก ลักษณะ เช่นนี้  ผู้ป่วย ไม่รู้ตัว มาก่อน ว่าเป็น หรือ ไม่มีอาการ ชี้นำ ว่าเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก มาก่อน  แต่กลับพบว่า ได้แพร่กระจาย ไปยังอวัยว ะอื่นๆ หรือ สงสัยว่า น่าจะเป็น มะเร็ง ที่แพร่กระจาย มาจาก ต่อมลูกหมาก  และ ภายหลัง ตัดชิ้นเนื้อ ต่อมลูกหมาก ไปตรวจ ถึงได้พบ มะเร็ง อยู่ภายใน

Clinical   carcinoma (มะเร็ง ต่อมลูกหมาก ที่มีอาการ)  พวกนี้ พบว่ามี อาการ และ การตรวจพบ ว่าเป็น มะเร็ง มาก่อน    และ ภายหลัง ตรวจทาง พยาธิวิทยาชิ้นเนื้อ พบว่าเป็น มะเร็ง ต่อมลูกหมาก อาการ ส่วนใหญ่ ที่มาหา แพทย์ ได้แก่ ปัสสวะลำบาก หรือ ปวดเวลาปัสสวะ ปัสสวะบ่อย   หรือ ปัสสวะ เป็นเลือด  บางราย มาหา แพทย์ ด้วยเรื่อง ปวดหลัง  เนื่องจาก มะเร็ง ได้แพร่กระจาย ไปที่ กระดูก บริเวณ สันหลัง เป็นต้น
     การตรวจโดย การคลำ ต่อมลูกหมาก ทางทวารหนัก เป็นวิธีการ อย่างหนึ่ง ในการตรวจหา มะเร็ง ของต่อมลูกหมาก เนื่องจาก กลีบหลัง ของต่อมลูกหมาก เป็นตำแหน่ง ที่เกิด มะเร็ง บ่อยที่สุด  แพทย์ ที่ชำนาญใน การตรวจ  สามารถ บอก และวินิจฉัย มะเร็ง ของ ต่อมลูกหมาก โดยวิธีการนี้   นอกจากนี้ การใช้ เข็มเจาะ ผ่านทาง ทวารหนัก เข้าไปที่ กลีบหลัง ต่อมลูกหมาก  เพื่อนำ ชิ้นเนื้อ มาตรวจ ทางพยาธิ เป็นวิธีการหนึ่ง ที่ช่วย ในกรณีที่ คลำ ต่อมลูกหมาก แล้วสงสัยเป็น มะเร็ง
     ในกรณีที่ สงสัย มะเร็ง ได้แพร่กระจาย ไปที่ กระดูก  การถ่าย ภาพรังสี กระดูก  หรือ การถ่ายภาพ ด้วย คอมพิวเตอร์  (Computerized tomography) จะช่วยใน การวินิจฉัย ได้อย่างดี  นอกจากนี้ การตรวจเลือด เพื่อหา serum acid phosphatase   ในกรณีที่มี ค่าสูง กว่าปกติ  ใช้ช่วยใน การวินิจฉัย ได้ดี วิธีการหนึ่ง และใช้ช่วยใน การติดตาม ผลการรักษา ว่า ดี เลว อย่างไรได้
     นอกจากนี้ ในทาง พยาธิวิทยา   การตรวจทาง ห้องปฎิบัติการ อิมมูนซัยโตเคมี   เพื่อหา แอนติเจนจำเพาะ ของต่อมลูกหมาก  (prostate-specific antigen)   ในชิ้นเนื้อ ที่ตรวจ   เป็นการช่วย ในการวินิจฉัยแยก จากมะเร็ง ชนิดอื่น ในกรณีที่ เกิดการแพร่ กระจาย  และ อาจตรวจหา ระดับ ในเซรุ่ม เพื่อช่วยใน การติดตาม ผลการรักษา
     การรักษา อาจใช้วิธี ทางศัลยกรรม   ฉายรังสี  หรือใช้ ฮอร์โมน  เพื่อหยุดยั้ง การแพร่กระจาย ของมะเร็ง  โดยอาศัย หลักการ ที่ว่า มะเร็ง ต่อมลูกหมาก เจริญเติบโตดีเนื่องจาก ผลของ ฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) ดังนั้น การตัด แหล่งผลิตฮอร์โมน เพศชาย  เป็นการ ช่วยระงับ การเจริญเติบโต และ การแพร่กระจาย ของเซลล์มะเร็ง ต่อมลูกหมาก      เช่น การตัด ลูกอัณฑะออก (orchiectomy) และการให้ ฮอร์โมน เพศหญิง เพื่อยับยั้ง การผลิต ฮอร์โมน เพศชาย เป็นต้น