คำนำ
(Introduction)


 
  • ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต เห็นได้ชัดในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น โปรโตซัว ได้ยื่นแขนที่เรียกว่า pseudopod ซึ่งประกอบด้วยไซโตพลาสซึ่ม (cytoplasm) และเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ออกไปข้างหน้าหรือหดเข้ามา เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมมากระทบหรือภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไป เพื่อเข้าหาหรือหนีออกจากสภาวะแวดล้อมในขณะนั้น และเพื่อการดำรงชีวิตด้วยการนำอาหารเข้าสู่เซลล์ ปฏิกิริยาตอบสนองเหล่านี้เกิดจากขบวนการทางเคมีที่เป็นลูกโซ่ ตรงบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์และภายในเซลล์ (ในไซโตพลาสซึม และ ในนิวเคลียส) แต่ในทางตรงกันข้าม สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยหลายเซลล์นั้น ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมมีความซับซ้อนมากกว่า เนื่องจากไม่ได้เกิดเพียงที่เซลล์(คือเยื่อหุ้มเซลล์และไซโตพลาสซึม)เท่านั้นยังเกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของเนื้อเยื่อ(tissue)ต่างๆที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อช่วยในการดำรงชีวิต เช่นหลอดเลือด (blood vessels) เม็ดเลือด (blood corpuscles) น้ำเลือด (serum หรือ plasma) ตลอดจนถึงอาณาบริเวณนอกเซลล์ (interstitial space) และกลุ่มเซลล์พิเศษในเนื้อเยื่อต่างๆได้แก่ เซลล์กินสิ่งแปลกปลอม (macrophages) เช่น histiocytes ตามเนื้อเยื่อทั่วไป, Kupffer cellในตับ, osteoclasts ในกระดูก, microglial cells ในสมอง เป็นต้น
  • สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายหรือภายนอกร่างกาย ย่อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตยามปกติ ร่างกายของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เหล่านี้ได้สร้างปฏิกิริยาตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปนั้น โดยอาศัยขบวนการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและทางเคมี และภายในเซลล์ของเนื้อเยื่อที่ถูกกระทบอย่างต่อเนื่อง เป็นลำดับ และอย่างเป็นขั้นตอน เราเรียก ขบวนการนี้ว่าการอักเสบ 
  • นอกจากนี้ร่างกายของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เหล่านี้ยังตอบสนองสภาวะที่เปลี่ยนแปลงด้วยการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โดยเกิดขึ้นพร้อมกันหรือร่วมกันกับการอักเสบ จนถึงการสมานแผลภายหลังจากการอักเสบสิ้นสุดลง ทำให้เกิดแผลหาย(scar) หรือแผลเป็น (keloid