พยาธิกำเนิดของการอักเสบเรื้อรัง (Pathogenesis of chronic inflammation)
การอักเสบเรื้อรัง เป็นปรากฎการณ์อย่างหนึ่ง ที่มีลักษณะเฉพาะ (เช่นเกิด granulomatous inflammation) หรือ ไม่เฉพาะ (non-specific) ทำให้ยากต่อการให้ คำจำกัดความ แต่อย่างไรก็ตาม การอักเสบเรื้อรัง กินเวลานาน ค่อยๆเกิด ไม่รุนแรง และรวดเร็ว ซึ่งผิดกับ การอักเสบเฉียบพลัน ที่ใช้เวลาเร็วกว่า รุนแรงกว่า แต่เป็นไม่นาน ตัวอย่าง การอักเสบเรื้อรัง เช่น วัณโรค ซิฟิลิส และเชื้อราบางชนิด เชื้อก่อโรคเหล่านี้ มีความรุนแรงต่ำ แต่ติดเชื้อนาน และ ค่อยเป็นค่อยไป จนสร้าง ปฎิกิริยาภูมิต้านทาน ชนิด delayed hypersensitivity ให้ลักษณะเฉพาะ ของพยาธิสภาพ ที่เรียกว่า granulomatous inflammation นอกจากนี้ สารบางอย่าง ที่ดูไม่มีพิษ และไม่น่าก่อโรค ในบางครั้ง ถ้ามีมาก และอยู่นาน เช่น ฝุ่นผง silicaทำให้เกิด การอักเสบเรื้อรัง ในปอด หรือ ปริมาณไขมันในเลือดสูง และเป็นอยู่นาน จนในที่สุด มีผลต่อ หลอดเลือด ทำให้ ผนังหลอดเลือดแข็งตัว เกิด atherosclerosis เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ภูมิต้านทาน ในร่างกาย บางครั้งก่อ ปฏิกิริยาต่อต้าน เนื้อเยื่อ ของเราเอง ทำให้เกิดโรค autoimmune disease เช่น rheumatoid arthritis และ lupus erythematosus
เซลล์ที่พบร่วมใน การอักเสบเรื้อรัง ส่วนใหญ่เป็น mononuclear cell ซึ่งได้แก่ เซลล์กินสิ่งแปลกปลอม (macrophage) เซลล์ lymphocyte และ plasma cell มีการทำลาย เนื้อเยื่อ จาก เซลล์อักเสบ เหล่านี้ และ พบการพอกของ เยื่อพังผืด เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ที่เรียกว่า fibrosis นอกจากนี้ พบเส้นเลือดที่เกิดใหม่ ขนาดเล็ก เป็นจำนวนมาก ในบริเวณที่อักเสบ