Echinococcosis (hydatid disease, hydatidosis)
 
เป็นโรคที่เกิดจาก ตัวอ่อน พยาธิตัวตืด Echinococcus spp.ชนิดที่ พบบ่อย คือ E. granulosus ส่วนชนิด E. multilocularis และ E. obligarthrus พบน้อยในคน

 
Echinococcosis พบระบาด บ่อยตาม แถบภูมิประเทศ ที่เลี้ยงแกะ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไอซ์แลนด์ ปัจจุปันนี้ พบมาก แถบอัฟริกาตะวันออก บางประเทศ ในแถบเมดิเตอร์เรเนียนโดยเฉพาะ ประเทศกรีกซ์ และ บางส่วน ของประเทศรัสเซีย ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ เช่น ประเทศอูรุกวัย ชิลี และอาร์เยนตินา เป็นต้น สำหรับ ประเทศไทย พบได้น้อย เคยมีรายงาน ไว้ใน วารสารทางการแพทย์ ไม่มากนัก จังหวัด ที่เคยมี รายงานพบ โรคนี้ ได้แก่ จังหวัดราชบุรี พบในผู้ป่วยหญิง มีอาชีพ เลี้ยงวัว และแกะขาย และ มีสุนัข ไว้เฝ้าบ้าน รายงานส่วนใหญ่ พบที่ ปอด และตับ

วงจรชีวิต ตัวแก่ E. granulosus อาศัยอยู่ใน ลำไส้ของ definitive host ซึ่งได้แก่ สัตว์กินเนื้อ ทั้งหลายโดยเฉพาะ สุนัข ตัวแก่ปล่อย gravid proglottids ปะปน ออกมากับ อุจจระ จากนั้น gravid proglottids แตก และ ปล่อยไข่ เป็น จำนวน มาก ออกม ากระจาย ตามพื้นดิน พวก intermediate host ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หลายชนิด เช่น แกะ วัว ควาย และคน กินอาหาร ที่มี ไข่พยาธิ ชนิดนี้ ปะปน อยู่เข้าไป ไข่ฟัก เป็น oncospheres ที่ลำไส้ และไชทะล ุผ่านผนัง ลำไส้ เข้าสู่ กระแสเลือด และเจริญเป็น hydatid cyst ตามอวัยวะต่างๆ ต่อไป สัตว์ที่เป็น definite host มากิน อวัยวะ ของสัตว์ ที่มี cyst เข้าไปใน ทางเดินอาหาร เมื่ออยู่ใน ลำไส้ ของสุนัข hydatid cyst จะเจริญไปเป็น ตัวแก่เพศผู้ และ เพศเมีย อาศัยอยู่ในลำไส้ ต่อไป จนครบ วงจรชีวิตของมัน
 

สำหรับ E.multilocularis และ E.oligarthrus มี สุนัขจิ้งจอก และแมว รวมถึงเสือบางชนิด เป็น definite host และมี หนู เป็น intermediate host

การติดต่อ - คนติดโรคนี้ โดยการกินไข่ หรือ gravid proglottids ที่ปะปน อยู่ใน อุจจาระของ สุนัข ลงไปใน ลำไส้เล็ก บริเวณ duodenum ตัวอ่อน ที่มี ตะขอหกอัน (six-hooked-embryo) ที่ปาก จะฟัก ออกจาก ไข่และไช ทะลุผ่านผนัง ลำไส้  เข้าสู่ เส้นเลือดดำขนาดเล็ก ตัวอ่อน เหล่านี้ ผ่านไปที่ ตับ และ ปอด เข้าสู่ ห้องหัวใจด้านซ้าย และ ออกสู่ กระแสโลหิตแดง เพื่อไปฝัง ตาม อวัยวะอื่นๆ ต่อไป

พยาธิสภาพ ตัวอ่อน (six-hooked-embryo) เมื่อเข้าสู่ กระแสเลือด ส่วนมาก ไปฝังตัว ในเนื้อตับ และปอด ส่วนน้อย พบที่หัวใจ และอวัยวะอื่นๆ  เกิดเป็น hydatid cysts ซึ่งใช้เวลา นานเป็นเดือน ในการเจริญเติบโต และค่อยๆ ขยายตัวใหญ่ ขึ้นจนได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 10 ถึง 20 เซนติเมตร ผนังของ cysts หนา ภายในมี น้ำใส พยาธิสภาพ ทางกล้องจุลทรรศน์ พบชั้นต่างๆ ของ cysts ซึ่งประกอบด้วย ชั้นนอกสุด เป็น fibrous wall ถัดเข้ามาเป็น ชั้นบางกว่า เรียกว่า laminated membrane และชั้นบางๆ ด้านในสุด เรียกว่า germinal layer ชั้นนี้มี ลักษณะ เป็น papillae ซึ่งจะพอง ออกเป็น pedunculated vesicles เรียกว่า brood capsules ภายในมี scolices เป็น จำนวนมาก

อาการทางคลีนิค ขึ้นอยู่กับ อวัยวะที่ hydatid cyst ฝังอยู่ รวมทั้งขึ้น อยู่กับ ขนาดของ ซิส (cyst) ถ้าพบที่ ปอด ผู้ป่วย จะมีอาการ ไอ บางครั้ง ไอเป็นเลือด หายใจขัด และ ปวดแน่นหน้าอก ถ้าซิส แตก อาจมีอาการ ไอเป็นเสมหะ หรือ เกิด pneumothorax และ empyema ได้ ผู้ป่วย บางราย เกิดภูมิแพ้ (hypersensitivity) ต่อสารใน ถุงซิส ทำให้เกิด อาการคัน บวม เป็นลมพิษ หรือเป็น หืด (asthma) ถ้าพบที่ ตับ จะมาด้วยเรื่อง คลำก้อน ได้ที่ หน้าท้อง หรือมี อาการ ตัวเหลือง และเกิด portal hypertension ได้ ถ้าพบที่ หัวใจ ห้องขวาบน อาจแตก ทำให้ผู้ป่วย ตาย จากการอุดตัน เส้นเลือดในปอด ด้วยชิ้นส่วนของ cyst (multiple pulmonary embolism) หรือ พบที่ เยื้อหุ้มหัวใจ และแตก ทำให้เกิด hemopericardium ได้

การวินิจฉัยโรค - โดยทำ การผ่าตัดเอา ชิ้นเนื้อ มาตรวจทาง พยาธิวิทยา พบ hydatid cyst ภายในบรรจุด้วย scolices หรือ ตรวจหาทาง ปฎิกิริยา ภูมิต้านทาน เช่นทำ skin test หรือ indirect hemagglutination test และ enzyme-linked immuno-sorbent assay (ELISA)