Angiostrongyliasis
เป็นโรค หนอนพยาธิ ที่สำคัญโรคหนึ่ง ที่เกิดกับคน โดยแพทย์ ไม่สามารถ ตรวจพบ ตัวพยาธิ ที่ก่อเหตุ ได้บ่อยนัก ส่วนมาก เกิดจาก พยาธิตัวกลม ชนิด Angiostrongylus cantonensis ซี่งปกติ เป็นพยาธิ ในปอดหนู หนูเป็น definitive host ของพยาธิ ชนิดนี้ พบ ครั้งแรก ในมณฑล กว้างตุ้ง ประเทศจีน โดย Chen เมื่อปี พ.ศ. 2478 (คศ.1935) ต่อมา Nomura และ Lin รายงาน พบพยาธิ ชนิดนี้ ในน้ำ ไขสัน หลังคน เป็นครั้งแรก เมื่อปีพ.ศ.2488 (1945) และในปี พ.ศ.2505 (1962) Rosen และพวก ได้รายงาน พบพยาธิ ชนิดนี้ ในสมอง และเยื่อหุ้ม สมองคน ที่ตายด้วยโรค eosinophilic meningo-encephalitis
สำหรับ ประเทศไทย ในปี เดียวกัน พ.ศ.2505 ได้มีรายงาน การพบพยาธิ ชนิดนี้ เป็นครั้งแรก ในไทย และพบ ในลูกตา ถือว่า เป็นการพบ ในลูกตา ครั้งแรก ในโลก หลังจากนั้น รายงานการ พบพยาธิ ชนิดนี้ เป็นการพบ ในลูกตา เป็นส่วนใหญ่ อีก 4 ราย ติดต่อกัน

โรคนี้ ส่วนมาก พบแถบ ตะวันออกไกล และหมู่เกาะ มหาสมุทร แปซิฟิค เป็นส่วนใหญ่ เช่น ประเทศไทย เวียตนาม ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย นิวคาลิโดเนีย ตาฮิติ ฮาวาย และตาม หมู่เกาะโอเชี่ยนเนีย สำหรับ ในประเทศไทย พบค่อนข้างชุก ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รายงาน ส่วนใหญ่ พบใน ผู้ป่วยที่ เป็น eosinophilic meningoencephalitis หรือ พบร่วมกับ การพบพยาธิ ชนิดนี้ ในลูกตา (ocular angiostrongyliasis)

วงจรชีวิต ตัวแก่ ที่อาศัย อยู่ใน เส้นเลือดแดง ของปอด จะฝังไข่ จำนวนมาก ไว้ใน ปอดหนู ตัวอ่อน ระยะที่ 1 จะฟัก ออกมา จากไข่ เหล่านี้ และเคลื่อน ไปที่ หลอดลม (trachea) และใน ที่สุด ปะปนออก มากับ อุจจระหนู จากนั้น intermediate host ได้แก่ พวกหอยทาก (slug) หอยโข่ง (snail) กุ้งฝอย (shrimp) จะกิน อุจจระหนู ที่มี ตัวอ่อน ระยะที่ 1 เข้าไป ภายใน 4 สัปดาห์ ตัวอ่อน จะเจริญ เติบโต จนเป็น ตัวอ่อน ระยะที่ 3 หนูทาน พวก intermediate host เหล่านี้ เข้าสู่ ลำไส้ ตัวอ่อน ระยะที่ 3 จะไช ผ่านลำไส้ ไปที่ สมองหนู และเจริญ เติบโต จนได้ ตัวอ่อน ระยะที่ 5 (young adult) แล้วเดิน ทางไป เจริญเติบโต เต็มที่ใน ปอดหนู ต่อไป จนครบ วงจรชีวิต ของมัน

การติดต่อ คนติด พยาธิชนิด นี้ได้ โดยทาน intermediate hosts ที่มี ตัวอ่อน ระยะที่ 3 นี้เข้า ไปใน ร่างกาย ส่วนมาก พบพยาธิ ชนิดนี้ไป ที่สมอง ไขสันหลัง และเยื่อหุ้มสมอง บางครั้ง พบไปที่ลูกตา

อาการทางคลีนิค เป็นกลุ่ม อาการทาง meningoencephalitis ทั่วๆไป เช่น ปวดศีรษะ ไข้ต่ำๆ มักร่วม กับอาการ คอแข็ง กลัวแสง วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียร ซึ่งทำให้ แยกยาก จากโรค ติดเชื้อ ปาราสิตอื่นๆ ที่ทำให้ เกิด meningoencephalitis เช่น โรค cysticercosis, gnathostomiasis, trichinosis, paragonimiasis, และschistosomiasis. เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วย ยังมี อาการ migratory pain ปวด กล้ามเนื้อ และรู้สึก ปวดแสบ ตามแขนขา บางราย มีอาการ facial paralysis

ในกระแสเลือด มีจำนวน เม็ดโลหิตขาว เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ชนิด eosinophil เพิ่มสูงขึ้น น้ำ ไขสันหลัง อาจใส เหลือง หรือขาวขุ่น มีจำนวน เม็ดโลหิตขาว เพิ่ม

อย่างไรก็ตาม พยาธิ ชนิดนี้ อาจชอนไช ไปที่ลูกตา ทำให้ มองอะไร ไม่ชัด ถ้าส่อง กล้องตรวจตา จะพบพยาธิ นี้ในลูกตา อาการทางลูกตา อาจพบ หรือไม่ พบร่วมกับ กลุ่มอาการของ eosinophilic meningitis ได้

พยาธิสภาพ เยื่อหุ้ม สมองจะหนา และขุ่นขาว โดยเฉพาะ บริเวณฐานสมอง ส่วนหน้า และสมอง ส่วนหลัง นอกจากนี้ ยังพบ หย่อมหรือ จุดเลือดออก ของเยื่อหุ้มสมอง ส่วน subdural และ subarachnoid บริเวณ ส่วน cortex ของสมอง บางครั้ง อาจพบ พยาธิที่ บริเวณเยื่อ หุ้มสมอง ส่วน subdural หรือ subarachnoid ก็ได้ หน้าตัด สมองพบ หย่อมเนื้อตาย และเลือดออก ทั่วไป ที่เยื่อหุ้มสมอง เหล่านี้จะ พบเซลล์อักเสบ ชนิด eosinophils เพิ่ม มากขึ้น พร้อมกับ เซลล์อักเสบ ชนิด lymphocytes และ monocytes บางครั้งพบ foreign body giant cells ในรายที่มี พยาธิสภาพของ granuloma นอกจากนี้ จำนวน glia cells เพิ่ม มากขึ้น พร้อมกับ มี hemosiderin pigment และผลึก Charcot-Leyden crystals

การวินิจฉัยแยกโรค โดยตรวจพบ ตัวอ่อน ระยะที่ 3 ในชิ้นเนื้อ ทางพยาธิ หรือพบ ในน้ำไขสันหลัง นอกจาก นี้ยัง อาศัย complement fixation test และ indirect fluorescent antibody test ในการ ตรวจหา การติดเชื้อ ปาราสิต ชนิดนี้